การหาอำนาจจำแนกของแบบทดสอบประเภทปรนัย ตอบถูกได้ 1 ตอบผิด ได้ 0 นั้น หาค่าอำนาจจำแนกได้ไม่ยาก และผมคิดว่าหลายคนอาจจะหาเป็นกันอยู่แล้ว เพราะใช้งานบ่อย แต่วันนี้ผมจะมาหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามที่คนตอบจะตอบโดยให้คะแนนเป็นมาตรประมาณค่าหรือที่เรียกว่า rating scale มี 5 ระดับนั่นเอง จริงๆ แล้วอาจจะใช้กับข้อสอบที่มี 3 ระดับก็ได้ แต่หากว่าเราไม่ค่อยนิยมทำแบบทดสอบแบบนั้นกันเท่าไรนักครับ
วันนี้ผมจะใช้วิธีที่นิยมวิธีหนึ่งนะครับ อ้างอิงจากหนังสือ การวิจัยทางการศึกษาของ ผศ.ดร.ไพศาล วรคำ หน้า 309 เป็นการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำด้วยสถิติทดสอบที (t-test) โดยคัดผู้ได้คะแนนสูงสุดและต่ำสุดมาร้อยละ 25-30 ของจำนวนทั้งหมด แล้วนำคะแนนของกลุ่มสูงและต่ำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ถ้าค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็แสดงว่าข้อคำถามนั้นมีอำนาจจำแนกนั่นเอง ความหมายก็คือว่า คนเก่งตอบได้คะแนนเยอๆ และคนอ่อนตอบได้คะแนนน้อยๆ ทำให้ข้อสอบข้อนั้นแยกคนเก่งและอ่อนออกจากกันได้นั่นเองครับ
แบบสอบถามความพึงพอใจของผมมี 10 ข้อ นำไปทดสอบกับนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งแบบสอบถามแต่ละข้อวัดในสิ่งเดียวกันหรือด้านเดียวกันครับ
อันดับแรกเรามาดูกันก่อนว่า ค่าอำนาจจำแนกที่หาได้ มีความหมายว่าอย่างไร
อำนาจจำแนก 0.00 – 0.09 หมายถึงข้อสอบข้อนั้น ต่ำมาก ต้องปรับปรุง
อำนาจจำแนก 0.10 – 0.19 หมายถึงข้อสอบข้อนั้น ค่อนข้างต่ำ ควรปรับปรุง
อำนาจจำแนก 0.20 – 0.39 หมายถึงข้อสอบข้อนั้น พอใช้
อำนาจจำแนก 0.40 – 0.59 หมายถึงข้อสอบข้อนั้น ดี
อำนาจจำแนก 0.60 – 1.00 หมายถึงข้อสอบข้อนั้น ดีมาก
เอาเป็นว่า ให้มีค่าระหว่าง 0.4 – 1.00 ถือว่าโอเค ถ้าหากข้อสอบข้อไหนน้อยกว่านี้ก็อาจจะแก้ไข หรือเปลี่ยนข้อสอบไปเลยก็ได้ครับ
คราวนี้เรามาดูสูตรที่จะใช้ในการคำนวณค่าอำนาจจำแนกกันครับ
[mathjax]
เมื่อ เป็นค่าสถิติทดสอบ
เป็นค่าเฉลี่ยรายข้อของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามลำดับ
เป็นความแปรปรวนของคะแนนรายข้อของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามลำดับ
เป็นจำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามลำดับ
เป็นระดับขั้นความเสรี (degree of freedom)
การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถบอกค่าดัชนีอำนาจจำแนกได้ บอกแค่ว่ามีหรือไม่มีเท่านั้น จึงต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสถิติทดสอบทีกับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ซึ่งปกติเราทดสอบนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบที ดังนี้
จากความสัมพันธ์นี้จะสามารถแปลงค่าสถิติทดสอบ t เป็นค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ได้เป็น
เราจะมาดูตัวอย่างการคำนวณจาก ไฟล์ excel นี้นะครับ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับเพื่อทำไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ
อธิบายนิดหนึ่งเพื่อความเข้าใจเบื้องต้น ไฟล์นี้ผมเรียงลำดับคะแนนเรียบร้อยแล้วนะครับ จากคะแนนรวมจากสูงไปต่ำ และแบ่งกลุ่มสูงและต่ำไว้เป็นสี สีฟ้าคือกลุ่มสูง สีส้มคือกลุ่มต่ำ ส่วนตรงกลางเราจะไม่เอามาคิดคำนวณครับ ไฟล์ดาวน์โหลดจากที่นี่ครับ
ผมจะตัดกลุ่มที่อยู่ตรงกลางออกก่อนเลยนะครับ คลิกเลือกทั้งแถบแล้วคลิกขวาเลือก ล้างเนื้อหา
จากนั้นจะมีส่วนเหลืองๆ ติดมาถ้าหากไม่ต้องการก็เลือกส่วนสีเหลืองแล้วคลิก ไม่เติม
จะได้ไฟล์แบบนี้มาครับ
หาค่าเฉลี่ย ของกลุ่มสูง โดยใช้ฟังก์ชัน =average ดังนี้
เมื่อได้อันแรกแล้วก็ลากไปทางขวาจนสุดเลยครับ
ต่อไปเราจะหาค่าความแปรปรวน ใช้ฟังก์ชัน =var.s ได้เลยครับ
เช่นเดียวกัน ลากไปทางขวาให้ครบครับ
เมื่อเสร็จแล้ว ให้ทำทำนองเดียวกันนี้กับกลุ่มต่ำครับ จะได้ดังภาพ
ต่อไปเราจะหาค่า t โดยใช้สูตรที่ให้ไว้ด้านบนนะครับ
เมื่อกด enter ท่านจะได้ค่า t ตัวแรก แล้วให้ลากไปทางขวามือจุดสุดครับ จะได้ดังนี้
ต่อไปเราจะหาค่า จากสูตรที่ให้ไว้ด้านบนของบทความนี้แล้วนะครับ ดังนี้ ใส่ n=28 เพราะเราทดสอบทั้งหมด 30 คนนะครับ จะได้ n-2 = 28 นั่นเอง
เมื่อกด enter แล้วลากไปทางขวา จะได้ดังภาพนี้ครับ
เราจะเห็นว่า ค่าอำนาจจำแนกที่น้อยกว่า 0.4 นั้นมีอยู่ 2 ข้อ คือข้อ 4 และข้อ 5 นั่นเอง ที่ควรตัดออกครับ เพราะได้อำนาจจำแนกที่ไม่ถึงเกณฑ์ นอกนั้นก็ใช้ได้หมดครับ
ไฟล์ excel ที่คำนวณเสร็จสมบูรแล้ว ดาวน์โหลดจากที่นี่ครับ
นอกจากนี้ผมยังได้หาจากโปรแกรม SPSS โดยการตัดกลุ่มกลางออกแล้วก็อปปี้ข้อมูลของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำมาหาค่าโดยไปที่ Analysis > Scale > Reliability Analysis…
จากนั้นเลือกตัวแปรเข้าไปทางขวามือ แล้วไปที่ statistic > ติ๊กถูกหน้า scale if… > กด continue แล้วกด OK
จะได้ผลของค่า อำนาจจำแนกออกมาดังนี้ครับ
จะเห็นว่าข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขคือข้อที่ 4 และ 5 เช่นกัน เพราะมีอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.174 และ 0.214 ตามลำดับ
รับคำนวณค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถาม จากไฟล์ excel ของท่านโดยท่านส่งคะแนนเป็นไฟล์ excel มาให้เราทางอีเมล mercedesbenz3010@gmail.com หรือ line: @krujakkrapong ผมจะช่วยท่านคำนวณและส่งไฟล์กลับไปให้ท่าน สามารถแอดไลน์มาสอบถามรายละเอียดก่อนได้ครับผม ยินดีให้บริการ 🙂
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.