ผมรู้จักกับพี่คนหนึ่งซึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมงานกันมาจากโรงเรียนเก่าของผม คือ โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม พี่คนนี้เราเคยร่วมงานกันและสนิทสนมกันมาก วันนี้ท่านได้ขอความช่วยเหลือจากผมให้ช่วยดูงานวิจัยให้หน่อย เพราะส่ง คศ.3 ไปแล้วกรรมการต้องการให้แก้ไขเพิ่มเติม คือ เพิ่ม การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามความพึงพอใจ และหาอำนาจจำแนกด้วยจึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ
แบบสอบถามความพึงพอใจ คือ อะไร
แบบสอบถามความพึงพอใจ จะแบ่งออกเป็นข้อๆ และให้นักเรียนตอบตามความรู้สึกของตัวเองว่ามีความพึงพอใจกับบทเรียนหรือหัวข้อนี้มากน้อยเพียงใด มีคำตอบคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด การทำแบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่านี้ เขาเรียกกันว่า ลิเคิร์ท (Likert) ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจ ดังภาพ
ค่าความเชื่อมั่น คืออะไร
ผมอ้างอิงจากหนังสือ ของ ผศ.ดร.ไพศาล วรคำ นะครับ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง ความคงที่ของผลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือชุดใดชุดหนึ่งในการวัดหลายๆ ครั้ง เช่น เอาตุ้มน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ไปชั่งด้วยเครื่องชั่งเครื่องหนึ่ง เครื่องชั่งจะบอกค่าน้ำหนักออกมาค่าหนึ่ง อาจเป็น 1 กิโลกรัม หรือค่าอื่นๆ ก็ได้ เมื่อเอาตุ้มน้ำหนักนั้นชั่งด้วยเครื่องนี้กี่ครั้งก็ได้ค่าน้ำหนักเท่าเดิมเสมอ แสดงว่าเครื่องชั่งมีค่าความเชื่อมั่น
ในทางแบบทดสอบก็คิดเช่นเดียวกันครับ ถ้าหากแบบทดสอบชุดนี้มีค่าความเชื่อมั่นแล้ว จะเอาไปทดสอบคนคนนี้กี่ครั้ง ผลที่ออกมาก็จะได้เท่าเดิมนั่นเอง ค่าความเชื่อมั่นมีกี่แบบอะไรบ้างผมจะไม่อธิบายเพราะเนื้อหาเหล่านี้ถ้าเราไปหาในหนังสืออ้างอิงการทำงานวิจัยต่างๆ ก็สามารถหาได้โดยง่าย เอาแค่พอเข้าใจเท่านี้นะครับ
หาคุณภาพของแบบสอบถามความพึงพอใจอย่างไร
ปกติแล้วถ้าต้องการหาคุณภาพของพวกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ตอบถูกผิดได้คะแนน 0 หรือ 1 พวกนี้การหาคุณภาพก็พอเห็นได้ชัด คือหาค่าความเชื่อมั่นจาก KR20 หรือ KR21 (สูตรของคูเดอร์-ริชาร์จสัน) ถ้าเป็นแบบวัดความพึงพอใจ ที่มีการให้คะแนนเป็น Rating scale หรือมาตรวัดประมาณค่า จะทำได้อย่างไร
ผมศึกษาข้อมูลจากหนังสือ ชื่อเรื่อง การวิจัยทางการศึกษา ของ ผศ.ดร.ไพศาล วรคำ พบคำตอบว่า การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสามารถหาได้จาก การหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาหาวิธีการหาค่านี้กันครับ
สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
สูตรของสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค คือ
เมื่อ เป็นสัมประสิทธิ์แอลฟา
เป็นจำนวนข้อคำถามหรือข้อสอบ
เป็นความแปรปรวนของคะแนนข้อที่ i
เป็นความแปรปรวนของคะแนนรวม t
สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค หาเมื่อไร
เราจะหาค่าความเชื่อมั่นจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอน สามารถใช้ได้ทั้งแบบทดสอบที่ให้คะแนน 0 หรือ 1 หรือแบบทดสอบที่มีค่าถ่วงน้ำหนัก หรือแบบมาตรประมาณค่า แม้แต่ข้อสอบอัตนัยก็สามารถใช้สูตรนี้ในการหาค่าความเชื่อมั่นครับ นั่นหมายถึง สูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคนี้เป็นกรณีทั่วไปของสูตร KR20 นั่นเองครับ
หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคด้วย Excel
โปรแกรมพื้นฐานอย่าง excel สามารถนำมาหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ง่าย โดยใช้ฟังก์ชันต่างๆ ที่เกี่ยวกับสูตรที่ให้ไว้ด้านบนนะครับ เราจะใช้แค่ 2 ฟังก์ชันสำคัญคือ =sum เอาไว้หาผลรวม และ =var.p เอาไว้หาความแปรปรวน ผมมีไฟล์ Excel ที่เอามากรอกข้อมูลไว้แล้ว สำคัญคือ ข้อคำถามของผมเป็นแนวเดียวกันทั้งฉบับ หากแบบสอบถามมีหลายแนว หรือจัดเป็นกลุ่มๆ ก็สามารถแยกหาไปที่ละด้านก็ได้เช่นกันนะครับ แต่อันที่ผมจะอธิบายในบทความนี้ แบบสอบถามถูกออกแบบเป็นข้อๆ รวดเดียวจบ และเป็นแนวเดียวกันทั้งฉบับครับ
ก่อนอื่นหากใครต้องการไฟล์ excel เพื่อจะได้นำไปทำตามตัวอย่างที่ผมจะทำ จะได้ตรวจสอบไปในตัวด้วยว่าถูกต้องหรือไม่นั้น ให้ดาวน์โหลดไฟล์คะแนนจากที่นี่ครับ
หาผลรวมคะแนนของนักเรียนแต่ละคน ใช้ฟังก์ชัน =sum(xx:xx) ในเซลล์ถัดจากคะแนนข้อสุดท้าย ดังนี้
เมื่อได้แล้วให้ลากจุดที่อยู่บริเวณมุมล่างขวาของเซลล์ลงมาเพื่อหาผลรวมของทุกๆ คน
ต่อไปหาความแปรปรวนของข้อสอบแต่ละข้อ โดยคลิกที่เซลล์ช่องด้านล่างสุดของ ข้อ 1 ใช้ฟังก์ชัน =var.p(xx:xx) เพื่อครอบคะแนนข้อ 1 ทั้งหมด
เช่นเดียวกับคะแนนรวม ลากจุดมุมล่างขวาไปยังขวามือ เพื่อหาความแปรปรวนของทุกๆ จะได้ข้อมูลดังภาพ
อย่าลืมหาผลรวมความแปรปรวนของแต่ละข้อไว้ โดยสามารถลากจุดที่อยู่ด้านล่างขวาของเซลล์สุดท้ายของคะแนนรวมลงมาได้เลย ดังภาพ
หาความแปรปรวนของคะแนนรวม โดยผมคลิกเลือกที่เซลล์ว่างๆ แล้วใช้สูตร =var.p(xx:xx) ลากครอบคะแนนรวมทุกเซลล์ดังภาพ
ได้ค่าดังดังภาพ โดยปรับทศนิยมให้เหลือ 2 ตำแหน่งครับ
คำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาจากสูตรด้านบนได้เลยครับ เลข 20 คือจำนวนข้อสอบนะครับ และ 19 ก็คือ k-1 นั่นเอง
ได้ผลลัพธ์สัมประสิทธิ์ของแอลฟามาเป็น 0.85 นะครับ ถือว่าใช้ได้ ค่านี้จะโอเคก็ต่อเมื่อมากกว่า 0.7 ขึ้นไป ยิ่งใกล้ 1 ยิ่งดี หมายถึง ค่าความเชื่อมั่นจะสูงมากนั่นเองครับ แต่ถ้าเป็นลบ หรือน้อยๆ ก็แปลว่า ข้อสอบบางข้อยังไม่สัมพันธ์กับข้ออื่นๆ หมายถึงต้องแก้ไข ซึ่งจะแก้ได้อย่างไรอันนี้จะขั้นสูงหน่อย อาจต้องใช้โปรแกรม SPSS เข้ามาช่วยหาครับ ค่าความเชื่อมั่นที่ได้นี้เมื่อหาจากโปรแกรม SPSS ก็จะได้ค่าเช่นเดียวกันครับ ผมใช้ข้อมูลเดียวกันนี้คำนวณแล้ว ได้ดังนี้
หากต้องการไฟล์ excel ที่ผมคำนวณเสร็จ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.85 สามารถดาวน์โหลดไปดูได้จากที่นี่
ถ้าหากว่าหาค่าความเชื่อมันแล้วติดลบ สามารถศึกษาวิธีการแก้ไขได้จากบทความนี้ครับ
เนื่องจากบทความนี้เป็นบทความที่มีประโยชน์มากแต่บางคนก็ยังไม่สามารถทำตามได้จากการอ่านบทความ ผมจึงอัดคลิปการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคเพื่อให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้นครับ แต่ในคลิปผมจะใช้สูตรความแปรปรวนของตัวอย่างนะครับ สำหรับไฟล์ word ในคลิปผมจะแนบไว้ใต้คลิปก็แล้วกันครับ
แหล่งอ้างอิง : ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
หากต้องการความช่วยเหลือในการคำนวณค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สามารถติดต่อผมได้โดยตรงนะครับ ถ้าพอจะช่วยเหลือหรือแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ไม่คิดค่าบริการ แต่ถ้าจะให้ช่วยคำนวณให้หมด โดยเอาคะแนนดิบมาเพื่อให้ช่วยหาให้ มีค่าบริการครั้งละ 200 บาทครับ โดยส่งไฟล์ excel เข้ามาทางไลน์ LineID: @krujakkrapong หรือ อีเมล mercedesbenz3010@gmail.com ครับ
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.
ขอบคุณนะค่ะ อ่านแล้วเข้าใจเลยค่ะ เย่ี่ยมมากๆ ค่ะ
ขอบคุณครับ จะพยายามทำบทความที่ดีๆ ให้อ่านอีกครับผม
ขอบคุณนะครับมีประโยชน์มากๆเลนครับ
ยินดีครับผม
ขอบพระคุณคะอาจารย์
นักวิจัยนำแบบทดสอบจำนวน 5 ข้อ ไปสอบกับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง แล้วนำมาคำนวณโดยใช้สูตร KR-20 พบว่า ได้ค่า KR-20 เท่ากับ 1 แสดงว่าผลการสอบเป็นอย่างไร
ช่วยตอบหน่อยนะคะอาจารย์
นักวิจัยนำแบบทดสอบจำนวน 5 ข้อ ไปสอบกับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง แล้วนำมาคำนวณโดยใช้สูตร KR-20 พบว่า ได้ค่า KR-20 เท่ากับ 1
แสดงว่าผลการสอบเป็นอย่างไรคะ