ระดับของจุดประสงค์นั้นมีหลายระดับ เอาเป็นว่าแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1. จุดประสงค์การศึกษา หรือความมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่
2. รองลงมาก็จะเป็นจุดประสงค์การจัดการศึกษาในแต่ละระดับ เช่น ประถม มัธยม และยังแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นประถมตอนต้น-ปลาย
มัธยมตอนต้น-ปลาย
3. จุดประสงค์ของกลุ่มวิชา หรือ หมวดวิชา เช่น ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ประกอบด้วยวิชาบังคับ ระดับชั้นละ 2 วิชา เป็นต้น
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
ความหมายคือ จุดประสงค์การเรียนการสอนที่บอกให้ทราบว่าหลังจากเรียนจบบทนั้นๆ แล้วผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่วัดได้ สังเกต
ได้ ออกมาอย่างไรบ้าง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน
[ordered_list style=”decimal”]
- พฤติกรรมที่คาดหวัง (Expected Behavior)
- สถานการณ์ หรือ เงื่อนไข(Condition)
- เกณฑ์ (Criteria)
[/ordered_list]
1. พฤติกรรมที่คาดหวัง (Expected Behavior)
คือ สิ่งที่อยากให้นักเรียนแสดงออก เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หลังจากเรียนจบบทเรียนนั้นแล้ว การเรียนพฤติกรรมที่คาด หวังต้องใช้คำกริยาเชิงพฤติกรรม มีความหมายเฉพาะอย่างเดียว ชัดเจน ไม่กำกวม สามารถสังเกตการกระทำได้โดยตรง ดังตัวอย่าง
– นักเรียนสามารถคำนวณโจทย์เลขที่เป็นเศษซ้อนได้ถูกต้อง
– นักเรียนสามารถบอกชื่อสินค้าที่สำคัญของไทยได้ถูกต้อง
– เมื่อกำหนดกลุ่มคำที่ควรศึกษามาให้ นักเรียนสามารถอธิบายความหมายได้
– นักเรียนสามารถระบุคุณลักษณะที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ได้อย่างน้อย 4 คุณลักษณะ
ในการเขียนจะไม่เขียนเฉพาะกริยาเชิงพฤติกรรมเพียงลำพังเท่านั้น เพราะจะมีความหมายไม่ชัดเจน ที่จะบอกได้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามต้องการหรือยัง จำเป็นต้องเขียนข้อความแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนั้นด้วย เช่น
ในการเรียนเรื่องเศษซ้อนกำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังไว้ว่า
[box type=”tick”]นักเรียนสามารถคำนวณโจทย์เลขที่เป็นเศษซ้อนได้ถูกต้อง[/box]
ไม่ใช่ [box type=”alert”]นักเรียนสามารถคำนวณได้[/box]
ตัวอย่างพฤติกรรมที่คาดหวังที่สามารถวัดได้ สังเกตได้
บอก เช่น บอกชื่อ บอกความแตกต่าง บอกความเหมือน บอกขนาด บอกที่มา บอกแหล่งกำเนิด บอกขั้นตอน บอกโทษ บอกประโยชน์ บอกความสัมพันธ์ ฯลฯ
เขียน เช่น เขียนรายงาน เขียนรายการ เขียนสมการ เขียนวงจร เขียนภาพ เขียนกราฟ ฯลฯ
สร้าง เช่น สร้างโจทย์ สร้างแบบ สร้างประโยค สร้างเครื่องมือ ฯลฯ
แก้ เช่น แก้ปัญหา แก้สมการ แก้ไขข้อความ ฯลฯ
[box type=”tick”]คำกริยาอีกหลายคำที่นำมาเขียนได้ เช่น อธิบาย ยกตัวอย่าง จัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ จำแนก จัดลำดับ จับคู่ ให้นิยาม สาธิต บันทึก ฯลฯ[/box]
[box type=”alert”]คำกริยาที่ไม่ใช่คำกริยาเชิงพฤติกรรม ซึ่งความหมายไม่ชัดเจน คลุมเคลือ ไม่ควรนำมาใช้ เช่น เข้าใจ รู้ ซาบซึ้ง เป็นต้น[/box]
2. สถานการณ์ หรือ เงื่อนไข(Condition) เพื่อให้จุดประสงค์ที่กำหนดมีความชัดเจนขึ้น ควรใส่สถานการณ์หรือเงื่อนไขลงไปด้วย ซึ่ง อาจเป็น บทประพันธ์ แบบฝึกหัด สื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ โจทย์ รายการ ดังตัวอย่าง
เมื่อกำหนดธาตุ 10 ธาตุ นักเรียนสามารถระบุได้ว่า ธาตุใดเป็นโลหะ ธาตุใดเป็นอโลหะ
เมื่อกำหนดโคลงให้ 1 โคลง นักเรียนสามารถสรุปความได้อย่างถูกต้อง
หลังจากสิ้นสุดการสาธิตการตอนกิ่งไม้แล้ว นักเรียนสามารถตอนกิ่งได้ด้วยตนเองได้
นักเรียนสามารถคำนวณโจทย์เลขเกี่ยวกับ ค.ร.น. ได้ถูกต้องด้วยตนเองจากแบบฝึกหัดที่ครูเขียนไว้บนกระดาน
3. เกณฑ์ (Criteria) ระดับพฤติกรรมที่กำหนด ต้องเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนถึงจะยอมรับได้ อาจกำหนดได้หลายรูปแบบดังนี้
นักเรียนสามารถเขียนชื่อคำศัพท์ของผลไม้ตามรูปได้ถูกต้องอย่างน้อย 20 คำ
(กำหนดเกณฑ์ในรูปปริมาณ)
นักเรียนสามารถตั้งกล้องจุลทรรน์ส่องดูอะมีบาได้ภายใน 2 นาที
(กำหนดเกณฑ์ในรูปทักษะ หรือความชำนาญ)
นักเรียนสามารถบอกความแตกต่างและความคลึงระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยบอกความคล้ายคลึง 3 ข้อ ความแตกต่าง 3 ข้อ (กำหนดเกณฑ์ในรูปปริมาณ)
นักเรียนสามารถแก้สมการชั้นเดียวอย่างน้อย 5 สมการ ภายในเวลา 4 นาที
(กำหนดเกณฑ์ทั้งในรูปของปริมาณและทักษะ)
จะเห็นว่า ทั้งหมดนี้เราก็สามารถกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนได้แล้ว สามารถวัดได้ โดยมีเกณฑ์ในการวัดไว้ในจุดประสงค์อีกด้วย
ข้อมูลจาก หนังสือ พัฒนาการสอน ของ รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด
Credit Image
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.