งานศิลปหัตถรรมนักเรียน จะมีกิจกรรมคิดเลขเร็ว เป็นหนึ่งในกิจกรรมการแข่งขันเดี่ยวที่มีประจำทุกๆปี การฝึกซ้อมนักเรียนเพื่อให้ก้าวไปสู่ชัยชนะเป็นเรื่องที่ครูผู้ฝึกซ้อมต้องวางแผนอย่างหนักหน่วง นอกจากจะรันโปรแกรมฝึกและฝึกแล้ว การมีคลังโจทย์สะสมไว้เป็นฐานข้อมูล ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ บางคนอาจจดและเก็บสถิติไว้ในสมุดโน๊ต แต่ข้อเสียคือการค้นหาและนำมาใช้งานอาจจะเสียเวลาและยุ่งยาก ผมจึงมีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้มานำเสนอในวันนี้ คือการสร้างแอป (เว็บแอป) จาก Google Sheet เพื่อเก็บสะสมข้อสอบ และเฉลยของโจทย์คิดเลขเร็ว เพื่อใช้งานต่อไป ถ้าคุณเป็นคุณครูที่กำลังฝึกซ้อมนักเรียนเพื่อแข่งขันคิดเลขเร็ว ผมว่าบทความนี้เหมาะกับคุณแน่ๆ โดยเฉพาะคนที่เข้ามาใหม่ เพราะการจะคิดวิธีแก้โจทย์คิดเลขเร็วได้ในเวลาจำกัดนั้น ครูบางท่านอาจจะเพิ่งเริ่มฝึกใหม่ อาจจะยังไม่ชำนาญเพราะสูตรคิดเลขเร็วมันมีเยอะมาก
อัพเดทกติกา คิดเลขเร็ว ปี 2566 ใหม่
ก่อนอื่นขอเกริ่นให้เผื่อในกติกาการแข่งขันของปีล่าสุด ปี 2566 นี้ได้มีการแก้ไขกติกาเล็กน้อย ขณะแข่งขันผู้อ่านโจทย์ไม่ต้องอ่านตัวเลขใหันักเรียน ดังภาพ ตรงนี้ไม่น่าจะมีผลมากเท่าไร ในความคิดผมที่มีเกณฑ์ข้อนี้เกิดขึ้นคงกลัวว่าจะไปทำให้สมาธิเด็กขณะรับข้อมูล เพราะครูบางคนอ่านออกเสียงผ่านไมค์ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนตัวเลขได้
เกณฑ์อีกอันที่น่าจะมีผลกระทบกว่าคือ การถอดราก ห้ามถอดซ้ำเกิน 2 รอบ
ตัวอย่างเช่น กติกาเก่า ถ้าเรามี 8 และ 3 แล้วอยากได้แค่ 3 จากเลขสองตัวนี้ เราสามารถถอดราก
แต่กติใหม่ ให้ถอดซ้ำได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ดังนั้นเราก็ทำได้แค่
การแข่งขัน คิดเลขเร็ว แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ประถมต้น/ประถมปลาย/ ม.ต้น/ และ ม.ปลาย แข่งเดี่ยวอย่างเดียว ไม่มีทีม โจทย์และผลลัพธ์จะมี 2 ลักษณะคือ คิดเลขเร็ว 4 หลัก และ คิดเลขเร็ว 5 หลัก
- คิดเลขเร็ว 4 หลัก คือ สุ่มตัวเลข 4 ตัว (ห้ามซ้ำเกิน 2 ตัว เลข 0 ห้ามเกิน 1 ตัว) เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ 2 หลัก (10-99) แข่ง 30 ข้อ ให้เวลาคิดข้อละ 30 วินาที
- คิดเลขเร็ว 5 หลัก คือ สุ่มตัวเลข 5 ตัว (ห้ามซ้ำเกิน 2 ตัว เลข 0 ห้ามเกิน 1 ตัว) เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ 3 หลัก (100-999) แข่ง 20 ข้อ ให้เวลาคิดข้อละ 30 วินาที
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ขอยกตัวอย่าง สุ่มตัวเลข 1, 8, 8, 9 ผลลัพธ์ 60
โจทย์ด้านบน ผู้แข่งขันต้องคิดหาวิธีนำตัวเลข 4 ตัว มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ถอดราก ใส่แฟกทอเรียล หรือแม้กระทั่งการใช้ซิกม่าตามกติกา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์เท่ากับ 60 ในเวลาเพียง 30 วินาทีเท่านั้น ว่าแล้วก็ทดลองทำดูนะครับ
เฉลย ข้อนี้ คือ แต่ละข้ออาจจะมีเฉลยได้มากกว่านี้ กรรมการจะเป็นคนตรวจความถูกต้องให้เองครับ
ในการดำเนินการทางคณิตศาสตร์นั้น แต่ละระดับจะสามารถใช้การดำเนินการได้ไม่เท่ากัน กติกาล่าสุดปี 2566 จะเป็นดังภาพ
การที่เด็กจะทำได้ในเวลา 30 วินาทีนั้น จะต้องฝึกซ้อมการเขียนมาเป็นอย่างดี และเข้าใจการกระทำกันของจำนวนเป็นอย่างดี เพราะถ้าใส่วงเล็บผิดแม้นิดเดียวความหมายทางคณิตศาสตร์อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้
กติกาและรายละเอียดคิดเลขเร็วปี 2566 นี้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ >> Download
อย่างที่บอกครับ ว่าการฝึกซ้อมนั้นสำคัญมาก ทั้งครูผู้ฝึกซ้อมก็ต้องหมั่นหาโจทย์มาให้นักเรียนได้ฝึกฝน ทำซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญขึ้นนั่นเอง
ปัญหาที่ผมพบ (เกิดกับตัวเอง) คือ เราเฉลยไม่ได้ทันที บางข้อยาก อาจจะต้องใช้เวลาคิด หรือหาคำตอบ เพราะการคิดเลขให้เร็วแบบนี้ จะต้องขึ้นกับพรสวรรค์ของแต่ละคนด้วย (พรแสวงก็มีส่วนเหมือนกัน) บางคนลบเลข 2 หลักในใจยังไม่ค่อยคล่องเลย (ผมเองนี่แหละ)
ดังนั้นการฝึกซ้อม เราต้องหาวิธีการครับ จะดีกว่าไหมหากว่า เรามีโจทย์พร้อมเฉลย แล้วสุ่มโจทย์นั้นใหันักเรียนทำ ถ้านักเรียนทำไม่ออก และเรา (ผู้ฝึกสอน) ก็คิดไม่ออกด้วย เราก็สามารถเปิดเฉลยหรือไกด์ไลน์ได้ด้วย
ที่ไปที่มาของแอปเก็บคลังข้อสอบ
ผมได้ลองพยายามเก็บเป็นคลังข้อสอบด้วยหลากหลายวิธีแล้ว พบว่ามีปัญหาแตกต่างกัน ล่าสุดผมได้เขียนบทความหนึ่งเกี่ยวกับ PowerApp ชื่อ แอปว่า AppDatabaseKidlek101 สามารถอ่านได้จากบทความนี้ ปัญหาที่พบคือ เวลาจะให้คนอื่นใช้งานแอปปนี้แล้วเขาไม่รู้ว่าจะต้องติดตั้งแบบไหน เพราะจะต้องติดตั้ง powerapp ลงในมือถือเสียก่อน ทำให้ผมคิดว่า วิธีนี้อาจจะไม่เวิคเท่าไร
จึงเป็นที่มาของแอปตัวล่าสุดที่ผมใช้ Google App Script กับ Google Sheet เป็นฐานข้อมูล เป็นเว็บแอปที่มีลิงค์เข้าใช้งานได้เลย ไม่จำเป็นต้องติดตั้งลงเครื่อง เพียงแต่หาวิธีการให้เปิดใช้ลิงค์ง่ายๆ ด้วยการเซฟลิงค์ไว้เป็น icon หน้ามือถือ
เวอร์ชันล่าสุดที่ใช้ Google App Script ผมใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการแก้ไขโค้ด เพื่อให้ได้ตามต้องการจนโค้ดต้นฉบับ เป็นเพราะว่าผมไม่ใช่มืออาชีพด้านเขียนโปรแกรม จึงต้องใช้ความพยายามสูงหน่อย โดยผมได้อาศัย ChatGPT ช่วยในการดูโค้ดให้ด้วย
แก้ปัญหา ฝึกซ้อม คิดเลขเร็ว แล้วคิดผลเฉลยไม่ออก
ผมได้พยายามหาวิธีแก้ปัญหานี้ โดยใช้ Google App Script ในการทำเป็นเว็บแอป เพื่อเก็บข้อสอบที่ฝึกซ้อม หรือได้จากกลุ่มคิดเลขเร็ว (กลุ่มนี้ผมเป็นหนึ่งในแอดมินที่กดยินยอมให้เข้า มีสมาชิกว่า 9K แล้วนะครับ) มาเก็บไว้ ถ้าเป็นกลุ่มคิดเลขเร็วประถมจะเป็นกลุ่มนี้ครับ คิดเลขเร็วประถมศึกษา
ให้ดูหน้าตาแอปจริงที่ผมใช้งานอยู่ >> คลิกตรงนี้ครับ
หรือจะคลิกลิงค์จะยาวๆ แบบนี้เลยก็ได้เช่นกันครับ
โดยแอปนี้ สามารถเซฟไว้หน้าจอมือถือ ได้ทั้ง IOS และ Android เพื่อเปิดและใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
วิธีการเก็บข้อสอบ คิดเลขเร็ว เข้าคลังโจทย์
เนื่องจากถ้าเขียนอธิบายอาจจะไม่เห็นภาพ ผมได้ทำคลิปอธิบาย หลังจากที่ได้ลิงค์ของเว็บแอป (ลิงค์เหมือนด้า่นบน) แล้ว ถ้าเราเปิดด้วยมือถือ IOS ก็สามารถสร้างไอคอนของเว็บแอปไว้บนมือถือได้ง่าย ทำตามขั้นตอนในคลิปนะครับ และผมยังได้เพิ่มวิธีการเพิ่มคลังโจทย์ในแอปให้ด้วยในคลิปครับ
ส่วนการเพิ่ม icon ไว้หน้ามือถือ Android จะใช้วิธีเหมือนกับในคลิปนี้ครับ ดูแล้วเอาไปประยุกต์เองนะ
ข้อดี/ข้อเสียของเว็บแอป คลังโจทย์คิดเลขเร็ว
- สามารถค้นหาโจทย์และผลลัพธ์ได้ที่ทุกเวลา เวลาค้นหาผลลัพธ์ จะได้รู้ว่า สามารถใช้ซิกม่าอะไรได้บ้าง หรือ สามารถคำนวณด้วยสูตรอะไรได้บ้าง
- เวลาฝึกซ้อมเด็ก สามารถนำโจทย์มาพิมพ์ แล้วให้เด็กทำ ถ้าเด็กทำไม่ได้ข้อนั้น เราก็ใช้มือถือค้นดูเฉลยได้ทันที จะได้เอามาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง SWOT ได้ทีละข้อ
- สามารถเก็บโจทย์ได้ทุกเวลา เช่น เวลานั่งรออะไร หยิบจับมือถือขึ้นมา แล้วเข้ากลุ่มคิดเลขเร็ว เห็นโจทย์ คิดคำตอบ หรือ คัดลอกคำตอบมาใส่ไว้ในคลังโจทย์ได้ตลอดเวลา [ดูคลิปด้านบนประกอบ]
- สามารถกรองโจทย์ ยาก ง่าย สองหลัก และสามหลัก ประถม และมัธยมได้ หรือสนามแข่งขันได้ เพราะตอนนำเข้าจะเลือกสนามได้
- ถ้าพิมพ์ผิด หรือต้องการแก้ไข/ลบข้อมูลในคลัง สามารถทำได้ เพราะมีปุ่มแก้ไข และปุ่มลบ (กรณีลบต้องใส่ password) password ผู้ทำแอปเป็นคนสามารถตั้งเองได้
ข้อเสียของแอปนี้
- เฉลยอาจจะเขียนเป็นสมการไม่ละเอียด เพราะไม่สามารถเขียนสัญลักษณ์พวก ซิกม่า หรือ ยกกำลังได้ แต่อาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่ต้องแปลความอีกที เช่น เขียนว่า sum_1-5(i!+1) จะหมายถึงสัญลักษณ์ เป็นต้น
- เวลาที่เพิ่มโจทย์ ไม่สามารถเปิดกลับไปกลับมาระหว่างหน้าต่างเว็บแอปนี้ กับแอปอื่นๆบนมือถือได้ มันจะรีเฟรสใหม่ทุกครั้ง เช่น เหตุการณ์ที่จะ copy สูตรจากเฟสมาใส่แอป เราต้องทำภายในครั้งเดียว จะเปิดกลับไปกลับมามันจะรีเฟรสแล้วล้างค่าให้ใหม่เสมอ
ขั้นตอนวิธีการสร้างแอป เก็บข้อสอบเข้าคลังโจทย์คิดเลขเร็ว
แอปนี้สร้างจาก Google App Script ซึ่งใช้ภาษา Javascript และทำงานหลังบ้านของ Google Sheet เพียงแค่เรามี account ของ google เราก็สามารถใช้ Google Sheet สร้างแอปนี้ได้ครับ
ผมได้สมัครสมาชิก VIP ของเว็บ examblog แล้วนำโค้ดมายำจนน่าพอใจแล้ว ถ้าอยากจะลองสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวท่านเอง ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ครับ
*ถ้าสนใจระบบอื่นๆ อีกมากมายสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิก VIP ของเว็บ Examblog เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนเว็บแอปได้
*กรณีต้องการไฟล์ต้นฉบับ (ไฟล์ต้นฉบับเป็นของฝรั่งครับ) โค้ดสามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ >> Download ต้นฉบับโค้ด แต่ถ้าต้องการสร้างฐานข้อมูลให้เหมือนกับที่ผมสร้าง (ไฟล์ที่ผมแก้โค้ดแล้วให้ทำตามด้านล่างครับ)
- ดาวน์โหลดไฟล์ Google Sheet > Download จากนั้นกดที่ ทำสำเนา นะครับ
2. กดที่ ส่วนขยาย > Apps Script
3. ไปที่ การทำให้ใช้งานได้ > การทำให้ใช้งานได้รายการใหม่
4. เลือกอีเมลของท่าน และเลือก ทุกคน แล้วกด การทำให้ใช้งานได้
5. ขั้นตอนนี้อีเมล องค์กร กับอีเมลส่วนตัว จะแตกต่างกันนิดหน่อย ถ้าเป็นเมลองค์กรเหมือนของผม จะเลือกอีเมลแล้วก็เข้าไปได้เลย ถ้าเป็นเมลส่วนตัว จะต้องเลือก ขั้นสูง (หรือ Advanced) > แล้วกด go to webapp display google sheet (unsafe)
6. ก็จะได้ลิงค์มาแบบนี้ แล้วนำลิงค์ไปใช้งานได้เลย จะสังเกตว่าลิงค์ที่ได้ลงท้ายด้วย exec
เวลาที่เปิดใช้งานก็ใช้จากตรงนี้เลยครับ จะได้หน้านี้ สามารถเพิ่มข้อมูลได้เลย ส่วน password ในการลบข้อมูลคือ 1234 ครับ
สำหรับใครที่ต้องการ customize เฉพาะที่ให้เหมาะสมกับความต้องการของท่าน หรือต้องการใส่โลโก้โรงเรียน หรือปรับแต่ค่าใดๆ สามารถติดต่อผมมาได้ครับ รับปรับโปรแกรมตามความต้องการ เช่น เพิ่มคอลัมภ์ เพิ่ม input ตามความต้องการ สามารถแอดไลน์มาปรึกษาก่อนได้ครับที่ @krujakkrapong
หนังสือ E-BOOK เรื่อง SUMMATION ฝึกนักเรียนอย่างไรให้คิดเลขเร็ว รวมสูตร Summation และค่าต่างๆที่สำคัญต่อการใช้ในการฝึกคิดเลขเร็ว และเทคนิคคิดลัด คิดเร็ว วิธีการจำค่าต่างๆ ซื้อครั้งเดียวอัพเดทตลอดชีพ สั่งซื้อ E-BOOK ของผมได้ ที่นี่
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.