ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ หรือแบบสอบถามที่เก็บไปแล้วอาจพบปัญหาหนึ่งคือ ค่าความเชื่อมั่นติดลบ มีสาเหตุมาจากอะไร จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบครับ
ท่านสามารถอ่านบทความค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่สร้างจาก excel ได้จากบทความนี้
การสร้างข้อคำถามของแบบสอบถามที่ดี
สิ่งแรกที่ควรจะทำคือ สร้างข้อคำถามที่ดี รัดกุม อ่านง่าย เป็นมิติเดียวกัน
จากการศึกษาเอกสารประกอบการอบรม เรื่องการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิคม ถนอมเสียง
พบว่า การสร้างข้อคำถามก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นได้ครับ ท่านอาจารย์ได้แนะนำว่า
- ข้อคำถาม ไม่ควรถามสองคำถาม ในข้อเดียว เช่น ท่านคิดว่าโรคเอดส์เป็นโรคอันตรายและทำให้เสียชีวิต จะเห็นว่าคำถามนี้ ประกอบด้วย 2 คำถาม คือ โรคเอดส์เป็นโรคอันตราย และ โรคเอดส์เป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิต ผู้ตอบแบบสอบถามอาจจะงงเอาได้ครับ
- ไม่ควรเป็นคำถามนำ หรือชี้ช่องให้ตอบหรือเอนเอียง เช่น จากการศึกษษาของแพทย์พบว่าพยาธิใบไม้ตับทำให้เกิดมะเร็งตับ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าพยาธิใบไม้ตับทำให้เกิดมะเร็งตับ (ชี้นำผลทางการแพทย์)
- ระวังคำถาม ประโยคปฎิเสธ คำถามที่มีคำว่า ไม่ ในประโยค อาจทำให้สับสนได้ โดยเฉพาะปฎิเสธซ้อนปฎิเสธ เช่น “ท่านคิดว่า ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมผสมโดยไม่จำเป็น” มีคำว่า ไม่ถึงสองที่อ่านแล้วอาจสับสนได้ง่าย ผมคิดว่า ควรเปลี่ยนประโยคให้อยู่ในลักษณะคล้ายกัน เช่น “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งจำเป็น”
- ไม่ควรใช้ศัพท์เฉพาะหรือศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก
และจากการศึกษาเอกสารวิชาการด้านศาสตร์การวิจัยและสถิติประยุกต์ ของ ดร. ดนัย ปัตตพงศ์
ท่านแนะนำว่า ข้อคำถามควรบ่งบอกมิติเดียวกัน เพราะหากเอาแบบทดสอบคนละมิติไปวัด จะทำให้เกิดความสับสน วิธีการคือการศึกษาโครงสร้างแบบสอบถามจากงานวิจัยต่างๆ ที่เขาทำไว้ดีแล้ว เช่น งานวิจัยหาอิทธิพลของปัจจัยทางการตลาด เป็นต้น
และจากการศึกษาคลิปใน youtube ของอาจารย์ ดร.ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ ก็พบว่า ท่านอาจารย์ได้แนะนำว่า การ Recode ข้อคำถามเชิงลบในแบบทดสอบเพื่อปรับค่าความเชื่อมั่นจากโปรแกรม SPSS ศึกษาได้จากคลิปนี้ครับ
ผมจะพิจารณาสูตรค่าความเชื่อมั่นที่นิยมมากที่สุดนั่นคือ ค่าแอลฟาของครอนบาค ครับ
ทำไม “ค่าความเชื่อมั่นติดลบ” มาดูที่สูตรกันหน่อย
สูตรของสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค คือ
[mathjax]
เมื่อ เป็นสัมประสิทธิ์แอลฟา
เป็นจำนวนข้อคำถามหรือข้อสอบ
เป็นความแปรปรวนของคะแนนข้อที่ i
เป็นความแปรปรวนของคะแนนรวม t
เมื่อพิจารณาจากสูตรแล้วเราพบว่า มันจะติดลบได้ เมื่อ มากกว่า 1 นั่นเองครับ
เมื่อเราพิจารณาเศษส่วนของสองค่านี้
- ถ้า เศษมากกว่าส่วน จะทำให้ค่านี้มากกว่า 1 นำไปสู่แอลฟาติดลบ
- ถ้า เศษน้อยกว่าส่วน จะเป็นบวก จะทำให้ค่านี้น้อยกว่า 1 นำไปสู่แอลฟาเป็นบวก
ผมจะใช้ excel ช่วยในการคำนวณสองค่านี้ ดาวน์โหลดจากลิงค์ด้านล่าง
คำเตือน : ถ้าเราเปลี่ยนจำนวนแบบทดสอบ ค่า k เปลี่ยนจะต้องเปลี่ยนในสูตร excel ด้วยนะครับ (ต้องใช้ความรู้สูตร excel ช่วยพอสมควร)
เมื่อปรับค่าคะแนนใหม่จนกระทั่งได้ เศษ น้อยกว่า ส่วน จะได้ค่าแอลฟาเป็นบวกครับ
สรุป : ค่าแอลฟาครอนบาค หรือ ค่าความเชื่อมั่นติดลบ มีสาเหตุมาจาก
- ข้อคำถามออกแบบมาไม่ดี (สามารถแก้ไขได้โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และทดลองกับกลุ่มย่อย)
- แบบทดสอบมีหลายมิติ (แก้โดยปรับให้เป็นมิติเดียวกัน)
เราสามารถแก้ไขข้อคำถามบางข้อเพื่อให้ค่าแอลฟากลับมาเป็นบวกได้ โดยอาจจะลบบางออกไป หรือการรีโค้ดข้อคำถามเชิงลบบางข้อ
รับวิเคราะห์ข้อมูล SPSS ค่า t-test, ANOVA, Regression, ค่าความเชื่อมั่น, ปรับค่าความเชื่อมั่น, ค่า t-score ก่อนเรียน หลังเรียนของคุณครู คศ.2- คศ.3, งานวิจัยเขียนบทที่ 4 สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ไลน์ @krujakkrapong
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.