การหาอำนาจจำแนกแบบอิงกลุ่มมีด้วยกันหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่นิยมกันคือการหา อำนาจจำแนก (ค่า r ) ของแบบทดสอบด้วยเทคนิคร้อยละ 27 หรือวิธีของ จุง เตห์ ฟาน ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าผู้ทดสอบมีจำนวนมาก การหาค่าอำนาจจำแนกด้วยการแบ่ง 50% ค่อนข้างยุ่งยาก โดยในปี ค.ศ.1939 Kelly ได้แสดงให้เห็นว่าหากคะแนนผู้สอบมีการแจกแจงเป็นปกติแล้ว การนำคะแนนของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำมาวิเคราะห์เพียงร้อยละ 27 ก็จะได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับการนำมาทั้งหมด
หากคะแนนไม่เป็นการแจกแจงปกติ Cureton ก็ได้แสดงให้เห็นว่า อาจต้องใช้คะแนนของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำประมาณร้อยละ 33 จึงจะสามารถประมาณได้ใกล้เคียงที่ทำทั้งหมด
การใช้เทคนิคร้อยละ 27 จึงเหมาะกับการใช้กับข้อสอบที่มีผู้สอบตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป โดยที่ข้อสอบเป็นแบบตัวเลือก ให้คะแนน 1 หรือ 0
ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างของการคำนวณค่าความยาก และอำนาจจำแนกด้วยเทคนิคร้อยละ 27% โดยมีข้อสอบทั้งหมด 35 ข้อ ทดสอบกับนักเรียนจำนวน 40 คน ถ้าตอบถูกได้ 1 ตอบผิด ได้ 0 นำมากรอกใส่ตาราง excel ดังภาพ
สามารถดาวน์โหลดไฟล์ excel จากลิงค์นี้
ด้านขวามือสุดของตารางเป็นคอลัมภ์รวมคะแนนของแต่ละคน โดยใช้ฟังก์ชัน =sum แล้วลากลงมาจนครบทุกคน
เรียงคะแนนรวมของแต่ละคนจากมากไปหาน้อย โดยลากไปที่คะแนนของทุกคนจากนั้น ไปที่ sort and Filter > sort largest to Smallest
เนื่องจาก 27% ของนักเรียน 40 คนเท่ากับ 10.8 ปัดขึ้นเป็น 11 ดังนั้น เราจะให้นักเรียนที่ได้คะแนนจากบนสุดลงมา 11 คนเป็นกลุ่มสูง และจากด้านล่างสุดขึ้นมา 11 คนเป็นกลุ่มต่ำ นั่นเอง เราสามารถรันหมายเลขคนที่ใหม่จาก 1 ถึง 40 เพื่อให้ง่ายในการดูจำนวนคนทั้ง 11 คนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ จากนั้นก็อาจทำไฮไลต์สีเอาไว้
และตอนนี้เราก็ได้กลุ่มต่ำด้วย
เราจะนับจำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูงโดยการใช้ฟังก์ชัน sum เพื่อรวมเลข 1 นั่นเอง
จากนั้นก็รวมคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ ทำคล้ายๆ กัน
ต่อไปคำนวณสัดส่วนของคนตอบถูกในกลุ่มสูง โดยเอาจำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูงหารด้วย 11 (ค่า27%ของ 40)
ทำนองเดียวกัน ค่า PL คือสัดส่วนของคนตอบถูกในกลุ่มต่ำ
ต่อไปให้หาค่าความยาก ซึ่งได้จาก p=(PH+PL)/2
จากนั้นเราก็หาค่า r จากสูตร r=PH-PL
ผมจะเขียนฟังก์ชันทดสอบค่า p และ r ไว้คร่าวๆ เพื่อช่วยตรวจสอบว่าข้อสอบที่ได้มีค่า p>= 0.5 และ r>=0.2 หรือไม่ ถ้าใช่ ให้ใส่ค่าว่า “Y” ถ้าไม่ใช้ก็ใส่ “N”
จากนั้นเลือกช่องค่าต่างๆ ที่คำนวณได้ แล้วลากจุดขวาด้านล่างไปยังด้านขวามือจนครบทุกช่อง
จะได้ผลลัพท์ดังนี้ และจะเห็นว่า ถ้าเป็น N แสดงว่า ข้อสอบไม่เข้าเกณฑ์ค่า p และ r ที่เหมาะสม เช่น ข้อ 3 มีค่า r=0.18 น้อยกว่า 0.2 ซึ่งจริงๆ แล้วเรายอมรับค่า r ที่มากกว่า 0.2 จนถึง 1 นั่นเอง
หากต้องการค่าความยากมาตรฐาน จำเป็นต้องหาค่า Z ออกมาก่อนโดยค่า Z นี้จะหาจากค่า p โดยใช้ฟังก์ชัน NORMSINV ใน excel ช่วย ดังนี้
คำนวนค่าความยากมาตรฐาน จากสูตร 13-4Z ดังภาพ
เมื่อได้สองค่านี้แล้ว ทำการลากทั้งสองไปทางขวามือเพื่อหาข้ออื่นๆ จนครบ
สามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่ทำเสร็จสมบูรณ์แล้วด้านล่างนี้
รับคำนวณค่าสถิติ ค่าความยากง่ายโดยใช้ excel หรือ SPSS เพื่อประกอบงานวิจัย โดยส่งคะแนนเป็นไฟล์ excel หรือ word ค่าบริการเริ่มต้นที่ 200 บาท สามารถสอบถามได้ที่ไลน์ @krujakkrapong หรือส่งเมลมาที่ mercedesbenz3010@gmail.com
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.