KruJakkrapong 's Blog

  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About

Follow us

Copyright © 2023 KruJakkrapong 's Blog

KruJakkrapong 's Blog

  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About
0
Play Pause Unmute Mute

Correlation สหสัมพันธ์ของข้อมูลคืออะไร

Written by จักรพงษ์ แผ่นทอง in Mathematics, ทำผลงาน คศ.2-3 on เมษายน 24, 2023

ในบทความนี้จะกล่าวถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปร ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรในความหมายของสหสัมพันธ์นะครับ ถ้าเรามีตัวแปร 2 สอง มันจะเกี่ยวข้องกันได้ 3 ลักษณะ คือ ไปด้วยกัน สวนทางกัน หรือไม่ก็ไม่เกี่ยวข้องกันเลย ในบทความนี้เราจะมาดูกราฟที่แสดงลักษณะความสัมพันธ์กันแบบต่างๆ อย่างละเอียดเลยครับ

ค่าสถิติที่เราจะนำมาหาความสัมพันธ์กันนี้มีชื่อว่า สหสัมพันธ์ หรือ Correlation เราอาจจะเคยได้ยินผลการวิจัยหนึ่งๆ ว่า น้ำหนักมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิต คะแนนความเป็นผู้นำมีผลต่อความพึงพอใจของลูกน้องต่อหัวหน้า อุณหภูมิมีความสัมพันธ์กับความเครียด เป็นต้น ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นสถิติสหสัมพันธ์ทั้งสิ้น

หน้าตาของสหสัมพันธ์

การทดสอบสหสัมพันธ์จะให้ค่าตัวเลขออกมาค่าหนึ่ง มีค่าระหว่าง -1\leq r \leq 1 ตัวเลขยิ่งมีค่ามาก (ไม่นับเครื่องหมาย) แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันมาก แต่เครื่องหมายจะบอกทิศทางว่าไปด้วยกันหรือสวนทางกันครับ

ลองมาดูตัวอย่างจากภาพกันดีกว่า เป็นกราฟแสดงแผนภาพจุด (Scatter plot) ระหว่าง ส่วนสูง และ อายุ

อีกกราฟ แสดงกราฟระหว่าง ส่วนสูง และ น้ำหนัก

ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงและอายุอยู่ที่ประมาณ .70* ส่วนค่าสหสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงและน้ำหนักอยู่ที่ .60 จะเห็นว่าค่าสหสัมพันธ์ทั้งคู่เป็นค่าบวก เรียกว่า สหสัมพันธ์ทางบวก หมายถึง

  • ถ้าอายุมากส่วนสูงจะมากด้วย หรือในทางกลับกัน ส่วนสูงมากอายุจะมากขึ้นด้วย
  • ถ้าน้ำหนักมาก ส่วนสูงจะมากตามไปด้วย หรือทางกลับกัน ส่วนสูงมาก น้ำหนักก็จะมากด้วย

* หมายเหตุ : การเขียนค่าในทางสถิติ หากค่าใดมีค่าตั้งแต่ -1\leq x \leq 1 เราไม่นิยมเขียน 0 นำหน้าจุดทศนิยม เช่น ค่า r และค่า p

ต่อไปมาดูกราฟอีกลักษณะหนึ่งนะครับ

ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและคะแนนสุขภาพ ประมาณ -.75 ส่วนสหสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับอายุประมาณ -.60 เรียกว่า สหสัมพันธ์ทางลบ หมายถึง ค่าหนึ่งมากขึ้นอีกค่าหนึ่งจะน้อยลง หรือต่ำลงนั่นเอง ถ้าเกาะกลุ่มเป็นเส้นตรงมากเท่าไร ค่าจะยิ่งใกล้ -1 มากขึ้น

ถ้าค่า r เท่ากับ 1 หรือ -1 จะเป็นอย่างไร ? หมายถึง สหสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ แต่ปกติเราะจะเจอสหสัมพันธ์ถึงระดับนั้น เช่น ถ้า r=1 จะได้ดังภาพ

ส่วน r=-1 จะได้ดังภาพ

ถ้า ค่า r=0 แสดงว่าข้อมูลไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ไม่ว่าค่าใดเพิ่มหรือลดอย่างไร ก็ไม่มีผลต่ออีกค่าหนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของน้ำหนักและคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ ดังภาพ

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Like this:

Like Loading...

Related

Leave a Reply Cancel reply

ติดต่อ

LineID: @krujakkrapong
โทร.089-942-9565 (เปี๊ยก)

ความเห็นล่าสุด

  • Top 19 โปรแกรม Foxit Phantompdf - Tết Trung Thu King Dom บน Foxit Phantom PDF โปรแกรมเจ๋ง จัดการไฟล์ PDF
  • Top 20 Poster สวย ๆ - DTA City บน โปสเตอร์วิชาการ สวยๆ

Blog Stats

  • 1,270,769 hits

3 บทความยอดฮิต

  • ANOVA คือ อะไร? พร้อมตัวอย่างการคำนวณ SPSS
  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม
  • สร้าง Google form เช็คชื่อนักเรียนแบบเก๋ๆ

Copyright © 2023 KruJakkrapong 's Blog

Designed by WPZOOM

 

Loading Comments...
 

    %d bloggers like this: