ปกติแล้วถ้าหากว่าเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่ม เราจะใช้การทดสอบสมมติฐานแบบที (t-test) แต่ถ้าหากกลุ่มประชากรของเรามีมากกว่า 2 กลุ่มละ เช่น 3 หรือ 4 กลุ่มเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เราจะทำอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเรียกว่า เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance) ซึ่งในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีตัวแปรเดียว จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ซึ่งก็มีข้อตกลงเบื้องต้นว่า
- แต่ละกลุ่มมีการแจกแจงปกติ
- ความแปรปรวนของแต่ละประชากรเท่ากัน
การทดสอบข้อ 1 นั้นเราก็ใช้การทดสอบคล้ายกับการทดสอบแบบที นั่นคือใช้ การทดสอบของโคลโมโกรอฟ-สมินนอฟ และ ซาปิโร-วิลค์ ส่วนการทดสอบข้อ 2 ว่าความแปรปรวนของแต่ละข้อมูลเท่ากันหรือไม่ เราจะใช้สถิติทดสอบคือ homogeneity of variance test ซึ่งใช้การทดสอบของ Levene
แนะนำ : จริงๆ แล้วการทดสอบการแจกแจงปกตินั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องทดสอบก็ได้หากกลุ่มตัวอย่างที่นำมามากพอ (ประมาณ 20+) เนื่องจากกว่าชีวิตจริงความเป็น normality อาจจะไม่ได้เกิดกับทุกกลุ่มประชากร แต่เราก็ไม่ได้อยากไปใช้ non parametric สักเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ อ้างอิงจากบทความนี้ สามารถยืนยันได้ว่า เราสามารถละการทดสอบ normality ได้ครับ เพราะพวก t-test, anova, regression สถิติพวกนี้มัน rubust (แข่งแกร่ง) ต่อ normality พอสมควรครับ
ถ้าในกรณีที่ประชากรมีการแจกแจงปกติแต่ความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน และขนาดกลุ่มตัวอย่าง (n) ของแต่ละประชากรไม่เท่ากัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนปกติจะคลาดเคลื่อนเอาได้ จึงควรเลือกการทดสอบ Brown-Forsythe แทน
ตัวอย่างของข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้คือ
การวิจัยเพื่อทำการเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีสอน 4 วิธีโดยการทำการทดลองสอนนักเรียน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คนหลังการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลปรากฎดังนี้

ทำการกรอกข้อมูลลง SPSS เพื่อ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
เปิดโปรแกรม SPSS ไปที่ variable view เพื่อสร้างตัวแปร เราจะสร้างตัวแปรชื่อว่า method เพื่อเก็บวิธีสอน และ score เพื่อเอาไว้เก็บคะแนน จากนั้นก็ save ไฟล์และตั้งชื่อไว้ครับ

นำข้อมูลมากรอกใน SPSS โดยเรียงวิธีสอนเป็น 1 ถึง 4 ในชื่อ method และนำคะแนนกรอกในช่อง score เรียงลำดับลงมาเรื่อยๆ

ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้น
เราจำเป็นต้องตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นว่า ข้อมูลของเรามีการแจกแจงปกติหรือไม่ โดยใช้คำสั่งดังนี้
Analyze > Descriptive Statistics > Explore…

นำตัวแปร score เข้าไปยังช่อง dependent list ส่วนตัวแปร method เอาเข้าไปยังช่อง factor:

คลิกที่ plots… > เลือก normality plots with tests > continue > OK

จะได้ตาราง tests of Normality ดังภาพ
[mathjax]

ผลการตรวจสอบพบว่า ค่า sig. ของแต่ละประชากร มีค่ามากว่า ทั้งการทดสอบของ Kolmogorov-Smirnor และ Shapiro-Wilk ดังนั้นสรุปว่า วิธีการสอนทุกวิธีมีการแจกแจงปกติ สามารถนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนได้
ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
เมื่อตรวจสอบแล้วว่ามีการแจกแจงปกติ เราจะมาวิเคราะห์ความแปรปรวนกันเลย อันดับแรกไปที่ analyze > compare Means > One-Way ANOVA…

เอาตัวแปร score ลงไปในช่อง dependent list และตัวแปร method ลงในช่อง factor จากนั้นกำหนดวิธีการเปรียบเทียบพหุ ให้คลิกที่ Post Hoc…

จะเห็นว่า Post Hoc แยกเป็นสองส่วน คือ กรณีความแปรปรวนเท่ากัน และ ความแปรปรวนไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากเรายังไม่ได้ทดสอบความแปรปรวนเราจึงเลือกทั้งสองกรณีได้ โดยกรณีความแปรปรวนเท่ากัน ให้เลือก วิธีการของ Scheffe และ Tukey ส่วนกรณีถ้าความแปรปรวนไม่เท่ากันเลือกวิธีของ Dunnett’s T3 จากนั้นคลิก Continue

ต่อไปเราจะทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน (Homogeneity of variance test) คลิกไปที่ option

เลือกไปที่ Homogeneity of variance test เป็นการทดสอบการเท่ากันของความแปรปรวนโดยใช้สถิติ ของ Levene และเลือก Brown-Forsythe เป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนกรณีที่ความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน จากนั้นคลิก continue แล้วคลิก OK

ได้ค่า Test of Homogeneity of Variances ดังภาพ พิจารณาค่า sig. บรรทัดแรกโดยใช้ค่าเฉลี่ยเป็นฐานพบว่า มีค่า sig. เท่ากับ .777 มากกว่า จึงยอมรับสมมติฐานว่าง
ดังนั้นสรุปว่า ความแปรปรวนของประชากรทั้ง 4 กลุ่มเท่ากัน

คราวนี้มาดูผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนจากตารางนี้ครับ ค่า sig. เท่ากับ .009 น้อยกว่า จึงปฎิเสธสมมติฐานว่าง
ไปยอมรับ
อย่างน้อย 1 คู่ ดังนั้นสรุปได้ว่า มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ผลการเปรียบเทียบพหุ (Multiple Comparisons)
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ Tukey และ Scheffe ปรากฎดังนี้ พบว่าวิธีการสอนที่ 1 และ 4 มีค่าเฉลี่ยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ให้สังเกตจากเครื่องหมายดอกจัน (*) หรือพิจารณาจากค่า sig. ที่น้อยกว่า .05 นั่นเอง

จากตัวอย่างนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า วิธีสอนที่ 1 ทำให้ประชากรของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีการสอนที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนวิธีการสอนอื่นๆ ไม่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของประชากรนักเรียนแตกต่างกัน
นอกจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เรายังมีบทความเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two Way ANOVA) สามารถศึกษาพร้อมตัวอย่างจากบทความนี้ได้เลยครับ
นอกจาก SPSS แล้วคุณยังสามารถคำนวณค่า One-Way ANOVA ได้จากโปรแกรม Excel อีกด้วย อ่านจากบทความนี้ครับ
อ้างอิง : ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
หากต้องการความช่วยเหลือในการคำนวณค่าสถิติโดยใช้ SPSS สามารถติดต่อผมได้โดยตรงนะครับ ถ้าพอจะช่วยเหลือหรือแล้วแต่ความยากง่ายของงานครับ สามารถสอบถามค่าบริการได้โดยส่ง กรอบแนวคิดวิจัย จุดประสงค์การวิจัย ตัวแปร หรือข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ เข้ามาทางไลน์ LineID : @krujakkrapong หรือ อีเมล mercedesbenz3010@gmail.com ครับ ☺
4 Comments