KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About
0

Follow us

  • facebook
  • youtube
KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Play Pause Unmute Mute

t test excel : เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย T-Test Dependent จาก Excel ไม่ง้อ SPSS

Written by จักรพงษ์ แผ่นทอง in Microsoft Excel, ทำผลงาน คศ.2-3, ฟรีแลนซ์ on เมษายน 2, 2020

สวัสดีครับ ผมเปี๊ยกนะครับ วันนี้ผมมีไฟล์ Excel มาแจกครับ 😉 ไม่ได้เป็นไฟล์ธรรมดา แต่เป็นไฟล์ที่เขียนสูตรไว้แล้วเพื่อช่วยคำนวณค่า t test ให้ง่ายขึ้นนั่นเอง รับรองว่าได้ค่าเท่ากับที่คำนวน Pair Samples T Test จาก SPSS แน่นอนครับ [มีคลิปยืนยัน]

จุดประสงค์ของบทความนี้นะครับ

  1. อธิบายการใช้งาน Excel ที่เขียนสูตรไว้แล้วเพื่อหาค่า t แล้วเทียบกับค่า t ของตารางการแจกแจงแบบที เพื่อทดสอบสมมติฐานถ้าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า t จากตาราง แสดงว่า ปฏิเสธสมมติหลัก (H0) ยอมรับสมมติฐานรอง (H1)
  2. สมมติฐานที่ตั้งคือ
    H0 : คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนไม่ต่างกัน
    H1 : คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนระดับนัยสำคัญของการทดสอบครั้งนี้ คือ 0.05
  3. แสดงเปรียบเทียบค่า t ที่ได้จาก Excel กับโปรแกรม SPSS ว่าได้เท่ากันหรือไม่

Dependent sample t test คืออะไร

ก่อนอื่น เรามารู้จักเจ้า Dependent Sample T-Test กันสักหน่อยก่อนนะครับ มันคือ การทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสองกลุ่มประชากรที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน หรือมีความสัมพันธ์กันอยู่ เช่น ผมต้องการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนของห้องหนึ่ง จะเห็นว่า นักเรียนคนเดียวกัน ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แสดงว่าไม่เป็นอิสระต่อกันนั่นเองครับ

ผมขอยกตัวอย่างการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ไม่เป็นก่อนเรียน-หลังเรียนดูบ้างนะครันสักหนึ่งตัวอย่าง คือ แพทย์คนหนึ่งต้องการศึกษาว่า ความดันโลหิตของคนไข้หลังกินยาต้านไวรัส covid-19 สูงกว่าก่อนกินยาหรือไม่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 จึงเก็บข้อมูลจากตัวอย่างคนไข้จำนวน 10 คน โดยวัดความดันโลหิตก่อนและหลังกินยาชนิดนี้ จะเห็นว่า คนไข้เป็นคนเดียวกันทั้งก่อนและหลังวัดความดันครับ นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกันนั่นเองครับ

ข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้งาน Dependent Sample T-Test

  1. คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นการแจกแจงแบบปกติ (มีวิธีทดสอบ)
  2. ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples) เช่น การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนห้องหนึ่ง เป็นต้น

หมายเหตุ : เราจะมาคำนวณหาค่า t ด้วย Excel ที่ผมเขียนสูตรไว้ให้แล้ว จริงๆ Excel มันเก่งกว่านั้นเพราะมันมีเครื่องมือสูตรสำเร็จให้คำนวณชื่อว่า Analysis Toolpak ซึ่งจะต้องทำการเพิ่ม add in เข้าไปใน excel แต่ ไม่ใช่ จุดประสงค์ของบทความนี้ครับ ให้เข้าใจสูตรการหาค่า t เป็นขั้นตอน และสามารถนำไปเขียนในงานวิจัยได้ด้วยครับ 😀

ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดไฟล์ excel ก่อนครับ

Pair-T-Test-By-Excelดาวน์โหลด

เมื่อดาวน์โหลดแล้วเปิดเข้าไปดูจะเห็นดังภาพ

คำนวนค่า t-test

สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนเป็นอันดับแรก คือ นักเรียนของคุณมีกี่คน เพราะโปรแกรม excel ที่ให้ไปสามารถคำนวณนักเรียนได้สูงสุด 30 คน ถ้าจำนวนนักเรียนน้อยกว่าให้ลบแถวส่วนล่างออก เหลือจำนวนนักเรียนเท่ากับที่ท่านมี เช่น มี 20 คน ให้ลบแถว 21-30 ออก โดยการคลิกเลือกแถวสุดท้ายจากนั้น แล้วกด shift ค้างแล้วคลิกเลือกแถวที่ 21 แล้วคลิก ขวา เลือก ลบ

ใช้ excel คำนวน t test

เมื่อลบแถวออกแล้ว กรอกคะแนนนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนลงไป excel จะคำนวณค่า t ให้และเปรียบเทียบค่า t ของตารางแจกแจงแบบที พร้อมกับประมวลผลว่า มันมากกว่าหรือน้อยกว่า แล้วสรุปว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่

แปลผล การคำนวณ t-test

ถ้าหากอ่านแล้วยังไม่เข้าใจสามารถดูคลิปประกอบจากด้านล่างนี้ครับ


และยังมีอีกคลิปหนึ่งที่ผมอธิบายการคำนวณด้วยมือ และการเปิดตารางแจกแจงแบบทีให้ดูครับ

สำหรับคนที่ต้องการให้ช่วยคำนวณค่า t-test เนื่องจากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่างเช่น การทดสอบการแจกแจงปกติ หรือ แก้ไขให้ข้อมูลเป็นการแจกแจงปกติ หรือ จำนวนนักเรียนมีมากกว่าในไฟล์ excel เป็นต้น สามารถส่งไฟล์คะแนน และ สอบถามมาได้ที่ line: @krujakkrapong นะครับ ยินดีช่วยเหลือและให้คำปรึกษา

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

Like this:

Like Loading...

Related


Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe to get the latest posts sent to your email.

Leave a ReplyCancel reply

ติดต่อ

LineID: @krujakkrapong
โทร.089-942-9565 (เปี๊ยก)

ความเห็นล่าสุด

  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม - KruJakkrapong 's Blog บน ค่าความเชื่อมั่นติดลบ จะแก้อย่างไร
  • Anonymous บน ชุดแบบฝึกหัด การบวก ลบ สำหรับซ้อมเพื่อแข่งขัน คิดเลขเร็ว

Blog Stats

  • 1,902,033 hits

3 บทความยอดฮิต

  • การหาค่าความยาก (p) และอำนาจจำแนก (r) ของข้อสอบปรนัย
  • วิธีหาอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นจาก SPSS
  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Designed by WPZOOM

Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

 

Loading Comments...
 

    %d