KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About
0

Follow us

  • facebook
  • youtube
KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Play Pause Unmute Mute

แหล่งความรู้เพิ่มเติม คิดเลขเร็ว

Written by จักรพงษ์ แผ่นทอง in คิดเลขเร็ว on กันยายน 26, 2019

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนเป็นงานที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อเปิดเวทีให้นักเรียนได้มีโอกาสแข่งขันในทักษะต่างๆ นักเรียนที่มีความสามารถของแต่ละโรงเรียนจะถูกคัดเลือกเพื่อฝึกซ้อมการแข่งขัน ในระดับเขตพื้นที่หรือจังหวัดของตนเองก่อน หากได้รางวัลชนะเลิศ จะถูกคัดไปแข่งกับเขตอื่นๆ ดังนั้น ถ้าหากเราได้เป็นตัวแทน คู่แข่งจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาก็ถูกคัดมาจากเขตอื่นเช่นกัน

ชัยชนะแต่ละครั้ง เบื้องหลังคือหยาดเหงื่อ

การแข่งขันในแต่ละเวทียังมีเบื้องหลังของการฝึกซ้อมซ่อนอยู่ คนที่ชนะเลิศก็ดีใจกันไป ส่วนคนที่พ่ายแพ้ก็ต้องกลับบ้านไป ถ้าเราเรียนรู้จุดอ่อนของตัวเองและพัฒนาปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ สักวันเราจะมีโอกาสได้ชัยชนะ

ชัยชนะแต่ละครั้ง เบื้องหลังคือหยาดเหงื่อ

ทั้งของครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง ถ้าหากครูผู้สอนทุ่มเททั้งแรงกายและใจเพื่อลูกศิษย์จนลูกศิษย์ไปถึงฝั่งฝัน ก็จะเป็นความภาคภูมิใจทั้งต่อครอบครัวและโรงเรียนต่อไป

ถ้าเราพ่ายแพ้ เกิดจากอะไรได้บ้าง

ถ้าหากเราพ่ายแพ้ สิ่งที่เราต้องคิดต่อ คือ การปรับปรุงจุดอ่อนของตนเองครับ ว่าทำไมเราถึงแพ้ บางรายการที่แข่งขันกัน หากเราพ่ายแพ้มันอาจจะเกิดจากปัจจัย 2 ประการ คือ 1. คณะกรรมการตัดสินผลงาน หรือ 2. เป็นเพราะเราฝึกซ้อมมาไม่เพียงพอ

ข้อ 1. นั้นเป็นปัจจัยที่เราแก้ไขไม่ได้ แต่ข้อ 2. เป็นข้อที่เกี่ยวกับตัวเราเราสามารถแก้ไขได้ครับ

สำหรับการแข่งขัน คิดเลขเร็ว ปัจจัยของการแพ้ชนะ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยข้อ 2. เกือบจะ 100% เป็นเพราะคะแนนเป็นปรนัยมากๆ คนที่ฝึกซ้อมมาดีเท่านั้นจะเป็นผู้ชนะครับ

แนะนำแหล่งเรียนรู้ คิดเลขเร็ว กลุ่มเฟส

วันนี้ผมอยากจะแนะนำแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากบทความที่ผมอุตสาห์เขียนขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งสำหรับครูและนักเรียนที่สนใจ ณ วันนี้ผมเขียนมาได้ 30 บทความแล้ว แต่ยังมุ่งมั่นอยากจะเขียนต่อไป

ถามว่าได้อะไรจากการเขียนสิ่งเหล่านี้ บอกได้เลยว่า “มาก” นอกเหนือจากรายได้เล็กๆน้อยๆ ที่เกิดขึ้นจากการขาย ebook แล้วผมยังได้ฝึกการเขียน ฝึกทบทวน ฝึกเก็บข้อมูล ทั้งจากการฝึกซ้อมของตนเองและนักเรียนครับ เวลาจะเขียนบทความหนึ่งผมต้องเตรียมข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง บางครั้งมันก็คิดอะไรไม่ออก แต่ก็พยายามจะเขียนให้มากที่สุดครับ

แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับคิดเลขเร็วแหล่งที่ผมจะแนะนำนี้ เป็นกลุ่ม facebook ครับ ต้องส่งความต้องการเข้ามาก่อนถึงจะเข้าร่วมได้ ในนั้นมีคนเก่งอยู่เยอะมาก พร้อมที่จะตอบคำถามทุกคำถามของเรา ผมรับรองว่าในนั้นสามารถตอบได้

วิธีการเข้าร่วมแล้วได้ประโยชน์สูงสุด

ทางที่ดีที่สุดเมื่อเข้าร่วมแล้ว เราควรโพสต์โจทย์คิดเลขเร็วที่คิดไม่ออกจริงๆ เวลาฝึกซ้อมจะพบว่า ใน 50 ข้อ หากฝึกนักเรียน จะมีข้อที่คิดไม่ออก ให้เขียนเก็บไว้ครับ จากนั้นเมื่อซ้อมเสร็จให้เก็บไปคิดอีกรอบที่ไม่ต้องคิดเวลา นั่งคิด นึกคิดไปก่อน จนกระทั่งไม่ออกจริงๆ ค่อยไปโพสต์ ผมพบว่า ในการซ้อมแต่ละครั้ง อาจจะมีข้อที่คิดไม่ออกจริงๆ อยู่ประมาณ 2-5 ข้อโดยประมาณครับ

สนามแข่งขันอื่นๆ ที่แนะนำ

ถ้าหากเราฝึกซ้อมนักเรียน เราคิดคิดไปด้วยกับนักเรียน ตอนแรกๆ สุดเลย ควรเขียนสมการไปด้วยกันเลยครับ ไม่ควรปล่อยให้นักเรียนซ้อมๆ กันไปเอง นักเรียนจะรับรู้เองว่าเราใส่ใจพวกเขาแค่ไหน ถ้าคิดไม่ออก ก็ขอให้คิดไม่ออกด้วยกันครับ ขอให้พยายามให้มากที่สุด เพราะจะพบว่า ทักษะก็จะเกิดขึ้นกับตัวผู้สอนเองด้วย และถ่ายทอดไปยังนักเรียนได้อีกด้วย

นอกจากกลุ่มเฟสบุ๊กกลุ่มนี้แล้ว ยังมีสนามแข่งขันอีกประมาณ 2 สนามที่นอกเหนือจากแข่งในงานศิลปหัตถกรรมแล้ว ที่เราควรฝึกเด็กเข้าร่วมการแข่งขันเหล่านี้ด้วย ติดตามได้จากเว็บไซต์ของโรงเรียนเหล่านี้ครับ

  1. โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม
  2. โรงเรียนวาปีปทุม

สองโรงเรียนนี้จะจัดแข่งขันคิดเลขเร็วขึ้นประจำทุกปี ผมคิดว่าเราควรส่งนักเรียนเข้าร่วมเพื่อให้นักเรียนคุ้นเคยกับสนามการแข่งขันครับ

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

Like this:

Like Loading...

Related


Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe to get the latest posts sent to your email.

Leave a ReplyCancel reply

ติดต่อ

LineID: @krujakkrapong
โทร.089-942-9565 (เปี๊ยก)

ความเห็นล่าสุด

  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม - KruJakkrapong 's Blog บน ค่าความเชื่อมั่นติดลบ จะแก้อย่างไร
  • Anonymous บน ชุดแบบฝึกหัด การบวก ลบ สำหรับซ้อมเพื่อแข่งขัน คิดเลขเร็ว

Blog Stats

  • 1,901,842 hits

3 บทความยอดฮิต

  • การหาค่าความยาก (p) และอำนาจจำแนก (r) ของข้อสอบปรนัย
  • วิธีหาอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นจาก SPSS
  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Designed by WPZOOM

Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

%d