มีคนถามเข้ามาเยอะมากครับ สำหรับประถมนั้นควรฝึกจากตรงไหนดี ผมต้องออกตัวก่อนว่า ยังไม่เคยฝึกนักเรียนประถมมาก่อน แต่จากการอ่านกติกาของระดับประถมแล้วก็พบว่า มีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่ให้ใช้ร่วมกันกับระดับมัธยมศึกษา เช่น การใช้ซัมเมชัน นี่ใช้ไม่ได้เลย ดังนั้นนักเรียนประถมก็ยังไม่จำเป็นต้องจำสูตรซัมเมชันนั่นเองครับ
แล้วควรเริ่มจากอะไรล่ะ ผมคิดว่าควรเริ่มจากเลขยกกำลัง ครับ ผมได้เขียนบทความของเลขยกกำลังไว้บางส่วนแล้ว บทความนี้ผมจะมาขยายมันเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะกับกติกาของระดับประถมครับ
อันดับแรกเรามาดูสรุปกติกากันก่อนครับว่า แต่ละระดับเขาให้ใช้อะไรกันบ้าง
คราวนี้ผมจะขออธิบายคำว่า ถอดรากชั้นเดียว กับ หลายชั้นให้เข้าใจกันก่อนนะครับ เพราะหลายคนอาจจะเข้าใจผิดกันอยู่
คำว่า รากชั้นเดียว คือการถอดเพียงครั้งเดียวแล้วค่าที่ได้ไม่ได้ถอดออกอีกรอบ เพราะรากที่สองเราสามารถใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเลข 2 แต่การถอดจะถอดออกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นจะถอดแบบนี้ไม่ได้
หรือว่าจะถอดออกแบบนี้ ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
แม้ว่ากรณีหลังนี้อาจมีข้อถกเถียงกันว่า สามารถใช้ได้ แต่เท่าที่ผมปรึกษาในกลุ่มคิดเลขเร็ว และมีคนสอบถามจากคณะกรรมการแล้วสรุปได้ว่า ไม่ให้ใช้ ครับ
เอาเป็นว่า ระดับก็ถอดรากเพียงชั้นเดียวก็แล้วกันครับ
เอาล่ะทีนี้ เรามาหาวิธีการที่จะฝึกฝนเด็กๆ ระดับประถมกันต่อเลยนะครับ ตัวเลขตั้งต้นที่จะคำนวณนั้น ควรจะเน้นไปที่เลขยกกำลังเป็นหลักเลยครับ
เลขยกกำลังที่เด็กๆ ระดับประถมศึกษา จะต้องจดจำให้ขึ้นใจ มีดังนี้ครับ
ตารางบน นักเรียนจำเป็นต้องจดจำให้ขึ้นใจเลยทีเดียวครับ จะช่วยทำให้หาตัวเลขตั้งต้นได้ใกล้เคียงกับคำตอบที่สุดครับ
หากใครดูตารางไม่เข้าใจ ผมขออธิบายเพิ่มอีกสักนิดนะครับ ยกตัวอย่างเลยก็แล้วกัน
อธิบายเพิ่มเติมว่า 256 ในตารางเกิดจาก [mathjax] คือการเอาตัวเลขจากคอลัมภ์ซ้ายมือสุด ไปยกกำลังตัวเลขในแถวบนสุด นั่นเองครับ
31 ค่าบนตารางบนนี้ นักเรียนจำเป็นต้องท่องให้ขึ้นใจเลยทีเดียว จะท่องวิธีไหน หรือใช้อะไรช่วยก็ขึ้นกับว่า นักเรียนจะฝักไฝ่ในการจดจำแค่ไหนนะครับ มันคิดซะว่ามันก็เหมือนสูตรคูณอีกตัวหนึ่งก็แล้วกัน ท่องเช้า ท่องเย็น ฝึกท่องไปเรื่อยๆ อันไหนจำไม่ได้ก็กลับมาดูซ้ำๆ ดูบ่อยๆ ผมรับรองว่า จดจำได้แน่นอนครับ
สำหรับตารางอันล่างนี้ อาจจะจดจำได้ยากสักหน่อย แต่ก็ต้องฝืนอีกสักนิด เพื่อบางข้อที่จำเป็นจริงๆ ขอแค่ถึง 31 ก็น่าจะพอนะครับ เพราะเกิน 1000 ไปแล้วก็อาจจะไม่ค่อยได้ใช้นัก แต่ถ้าเอามาลบออก ก็ไม่แน่ ผมก็เลบเผื่อๆ ไว้ถึง 35 ไปเลยนะครับ
เลขบางตัวก็มีสูตรสำเร็จช่วยจดจำได้ง่ายๆ เช่น เลขที่ลงท้ายด้วย 5 นำมายกกำลังสอง ให้เอาตัวเลขที่อยู่หน้า 5 ไปคูณกับค่าที่มากขึ้นอีก 1 แล้วนำไปต่อกับตัวเลข 25 เป็นคำตอบ อธิบายแล้วอาจมองไม่เห็นภาพ มาดูตัวอย่างประกอบดีกว่า
อักสักตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพมากที่สุด
เห็นไหมว่า การยกกำลังสองของเลขที่ลงท้ายด้วย 5 นั้น คิดได้ไม่ยากเลย ควรจดจำไว้ใช้นะครับ
ส่วนที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่า นักเรียนจะจดจำด้วยวิธีใด อีกวิธีหนึ่งที่ผมจะแนะนำครับ การใช้บัตรกระดาษแข็งเขียนสองด้าน ของค่าแต่ละค่า เช่น ด้านหนึ่งเขียน อีกด้านก็เขียน เมื่อเขียนจนครบทุกตัว แล้วเอามาสลับๆ เปิดเพื่อจดจำ อาจเล่นกันเป็นคู่ๆ ก็สนุกดี
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.