KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About
0

Follow us

  • facebook
  • youtube
KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Play Pause Unmute Mute

นิทานเรื่อง อีกากี่ตัว

Written by จักรพงษ์ แผ่นทอง in My Classoom, ความสุข, ชีวิต on กันยายน 25, 2019

ผมจะลองเล่านิทานให้ฟังนะครับวันนี้ ผมเพิ่งซื้อนิทานสีขาวจากร้าน 7-11 มาและเพิ่งอ่านจบไปครับ เลยอยากเล่านิทานให้ฟัง ผมจะลองฝึกเล่านิทานดูนะครับว่าจะเป็นอย่างไร

มีเด็กน้อยชาวนาคนหนึ่งชื่อ โจ เป็นเด็กฉลาดแต่ยากจน แม้ว่าโจจะรู้ว่าการศึกษาจะช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่กระนั้นเขาก็จำเป็นต้องช่วยพ่อแม่ทำงานเพื่อเลี้ยงน้องอีกหลายคน ด้วยหน้าที่และความยากลำบากของครอบครัว เขาจึงมักขาดเรียนบ่อยเพื่อมาช่วยพ่อแม่ทำงาน เสื้อผ้าก็มอมแมม สกปรกไม่เหมือนเด็กคนอื่นๆ ถึงพ่อแม่จะเห็นใจลูกอย่างสุดซึ้งแต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากเพราะความยากจนคับแค้นของครอบครัว

มีอยู่วันหนึ่ง มีเศรษฐีใจดีคนหนึ่งประกาศให้ทุนการศึกษาเด็กที่สามารถตอบคำถามเขาได้ เมื่อ โจได้ข่าวจึงไปสมัครเผื่อว่าจะมีโอกาสได้รับทุนนี้

เมื่อเขาเดินทางไปยังบ้านของเศรษฐีก็ได้เห็นเด็กคนอื่นๆ รอตอบคำถามชิงทุนเช่นเดียวกับเขาอยู่จำนวนหนึ่ง มีเด็กคนหนึ่งพูดขึ้นว่า
“ทำไมเจ้ามาขอทุนนี้ด้วย ทุนนี้มีไว้สำหรับเด็กเรียนดี ไม่ใช่เด็กยากจน”
เมื่อโจได้ฟังก็ไม่ได้ตอบโต้ใดๆ เพราะว่าเขารู้อยู่แก่ใจว่า เขาก็มิสิทธิ์ตอบเช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆ เพราะเขาก็เป็นเด็กในหมู่บ้านเดียวกัน

แล้วเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง เมื่อ เศรษฐีใจดีเดินออกมาหน้าตายิ้มแย้ม แล้วพูดว่า

“ในขณะที่ข้าเดินทางเข้าหมู่บ้านของเรา ข้าได้สังเกตเห็นอีกาอยู่จำนวนหนึ่ง ข้าอยากทราบว่า อีกาในหมู่บ้านของเรามีกี่ตัว นี่คือคำถามชิงทุน”

เด็กๆ ทุกคนงนงงกับคำถามดังกล่าว บ้างก็บอกว่า คำถามนี้ยากมาก จะมีใครไปรู้ว่าอีกามีกี่ตัว จึงบอกกับเศรษฐีไปว่า

ท่านเศรษฐี หากจะให้พวกข้าตอบจำนวนที่แน่นอน ท่านต้องให้เวลาพวกข้าไปนับอีกาเสียก่อนดีไมขอรับ

ท่านเศรษฐีจึงกล่าวว่า

“ได้ ข้าจะให้เวลาพวกเจ้าไปนับอีกาในหมู่บ้านของพวกเรา 3 วัน หลังจาก 3 วันแล้วเรามาเจอกันที่ตรงนี้อีกที”

จากนั้นเด็กๆ ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ช่วงเวลา 3 วันถัดมา ในหมู่บ้านต่างก็วุ่นวายไปด้วย เด็กๆ และผู้ปกครองที่วิ่งวุ่นไปนับจำนวนอีกา ยกเว้น โจ คนเดียวที่ยังทำงานของตัวเองที่บ้านต่อไป เพียงจะเหลือบมองจำนวนอีกาที่บินผ่านมาทางเขาเท่านั้น

พ่อและแม่ของโจ เห็นดังนั้นจึงบอกกับลูกว่า

“ทำไมโจไม่ออกไปนับจำนวนอีกาเหมือนเพื่อนละลูก”

โจตอบกลับว่า

“ไม่หรอกครับแม่ ผมยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก ผมขอนับอยู่ตรงนี้ก็ได้ครับ”

เมื่อวันครบกำหนดมาถึง เด็กทั้งหมู่บ้านพร้อมด้วยผู้ปกครองต่างมารอที่บ้านของเศรษฐีใจดี แล้วเศรษฐีก็ปรากฏตัวออกมา

“เจ้าทั้งหลายได้จำนวนของอีกาในหมู่บ้านของเราแล้วใช่ไหม เป็นจำนวนเท่าไร”

ไม่มีใครมั่นใจกล้าตอบคำถามของเศรษฐีแม้แต่คนเดียว เพราะสอบถามกันแล้ว ต่างคนก็ต่างได้คำตอบที่แตกต่างกันออกไป จนกระทั่งมาถึง โจ

“ผมนับได้ 6,484 ตัวครับท่าน” โจกล่าว

เศรษฐีมองมาที่เด็กหนุ่ม แล้วก็พูดขึ้นว่า

“เจ้าแน่ใจได้อย่างไรว่า อีกาในหมู่บ้านของเรามีจำนวน 6,484 ตัว” เศรษฐีชักสนใจในตัวเด็กคนนี้มากขึ้น

“ข้าแน่ใจมากขอรับ ข้านับจำนวนมาดีแล้ว ถ้าท่านไม่เชื่อข้า ท่านลองไปนับดูก็ได้ หากท่านนับได้เกิน 6,484 ตัวแสดงว่ามีอีกาในหมู่บ้านอื่นบินมาเยี่ยมเยียนในหมู่บ้านเรา แต่ถ้าหากนับได้จำนวนน้อยกว่า แสดงว่าอีกาในหมู่บ้านของเราบินออกไปเยี่ยมเยียนเพื่อนของมันที่หมู่บ้านอื่นเสียแล้วขอรับ”

เศรษฐีพอใจในคำตอบของโจเป็นอย่างมาก จึงมอบทุนการศึกษาให้โจ และเพื่อนๆ ก็เข้ามาขอโทษโจที่เคยเหยียดหยามเขาเอาไว้

คนที่ฉลาดแม้จะยากจน แต่ก็สามารถใช้สติปัญญาของตนเพื่อใช้แก้ปัญหาได้

เป็นอย่างไรบ้างครับ การเล่านิทานของผมครั้งแรก หากชอบก็คอมเม้นบอกหน่อยนะครับ ผมจะได้หามาเล่าให้ฟังอีก

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

Like this:

Like Loading...

Related


Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe to get the latest posts sent to your email.

Leave a ReplyCancel reply

ติดต่อ

LineID: @krujakkrapong
โทร.089-942-9565 (เปี๊ยก)

ความเห็นล่าสุด

  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม - KruJakkrapong 's Blog บน ค่าความเชื่อมั่นติดลบ จะแก้อย่างไร
  • Anonymous บน ชุดแบบฝึกหัด การบวก ลบ สำหรับซ้อมเพื่อแข่งขัน คิดเลขเร็ว

Blog Stats

  • 1,902,890 hits

3 บทความยอดฮิต

  • การหาค่าความยาก (p) และอำนาจจำแนก (r) ของข้อสอบปรนัย
  • แจกแบบสอบถามงานวิจัย google form ดัดแปลงได้
  • วิธีหาอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นจาก SPSS

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Designed by WPZOOM

Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

 

Loading Comments...
 

    %d