KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About
0

Follow us

  • facebook
  • youtube
KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Play Pause Unmute Mute

หลักการเขียนรายงาน ผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) แบบ ก.ค.ศ.3/1

Written by จักรพงษ์ แผ่นทอง in Service, ทำผลงาน คศ.2-3 on พฤศจิกายน 14, 2021

การเลื่อนวิทยฐานะของคุณครูสายผู้สอน ไม่ว่าจะเป็น ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษนั้น ตามหลักเกณฑ์ ของ ก.ค.ศ. หนังสือ ว 17/2552 ด้านที่ 3 มี 2 ส่วนครับ ได้แก่

  1. รายงานผลการปฏิบัติงาน (คิดเป็นคะแนน 60%) 😍
  2. ผลงานทางวิชาการ (คิดเป็นคะแนน 40%)
คู่มือการประเมินวิทยฐานะ-สายงานการสอน-ว17.2552ดาวน์โหลด

เมื่อพิจารณาและอ่านจากคู่มือ แล้วนะครับ ด้านที่ 1 ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่เห็นจะมีน้ำหนักคะแนนมากกว่า และพบปัญหาส่วนใหญ่จะขาดความเข้าใจในการเขียนรายงาน กรอกข้อมูลมั่ว ไม่แนบเอกสารหลักฐานให้เพียงพอ ทำให้คะแนนส่วนนี้ถูกประเมินไม่ผ่าน และรู้หรือไม่ว่า หากได้คะแนนส่วนนี้ต่ำกว่า ร้อยละ 65 (น้อยกว่า 39 คะแนน) ท่านจะต้องส่งผลงานใหม่ 😱 น่าเสียดายนะ

ในบทความนี้ ผมจะกล่าวถึงคะแนนส่วนที่ 1 ทั้ง 7 ข้อ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ คือ เป็นตัวเลขที่กรอกแล้ว จำเป็นต้องมีหลักฐาน อ้างอิงถึงข้อมูลที่นำมาให้กรรมการด้วย อ้างถึงท่าน ศน.เสกสรรค์ อรรถยานันท์ ศน. สพป.อ่างทอง ท่านกล่าวถึงปัญหาที่พบสรุปได้ว่า

  1. ไม่แนบเอกสารภาคผนวก 😱
  2. กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการคำนวณค่าทีเฉลี่ย (Average T Score) 😱
  3. ไม่กรอกข้อมูลบางข้อ โดยเฉพาะข้อ 2.2 การพัฒนาสุขภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และ สังคม ข้อ 2.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และข้อ 3.2 สภาพงาน 😱

ทำความเข้าใจในการเขียนรายงาน

เมื่อมีผู้อ่านรายงานของเรา หรือผู้ประเมินที่ดูแค่เอกสาร ไม่ได้ไปประเมินเชิงประจักษ์ เพื่อซักถาม เราจะต้องทำรายงานออกมาให้ดีที่สุด มีหลักฐานครบมากที่สุด เพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านหรือผู้ประเมินเข้าใจในเนื้องานของเราจริงๆ แนะนำว่า เมื่อเขียนเสร็จ ตรวจสอบหลักฐานครบ ลองประเมินและให้คะแนนตัวเองดูครับ

ในการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) แบบ ก.ค.ศ.3/1 นั้น ถ้าจะให้มีหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ควรดูตารางในเอกสารแบบ ก.ค.ศ.11/1.1 และ ก.ค.ศ.12/1.1 มีในคู่มือด้านบนดาวน์โหลดแล้วเปิดหน้า 247

โดยภาพรวมควรทำความเข้าใจหัวข้อรายงานที่จะต้องเขียนทั้ง 7 ข้อดังนี้ครับ

ที่รายงานผลการปฏิบัติงาน ตาม ก.ค.ศ.3/1แนบเอกสารหลักฐานภาคผนวก
11.1 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระ/วิชาที่เสนอขอรับการประเมินของปีปัจจุบัน
ชื่อวิชาที่สอน…………
คะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน = ….
คะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน = ….
⬜สรุปผลการวิเคราะห์ค่าทีเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน
⬜ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหาของแบบทดสอบ (TOS)
⬜แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
⬜เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระ/วิชาที่สอน
คะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้ว = ……
คะแนนทีเฉลี่ย (Average T Score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบัน = ……
⬜ สรุปผลการวิเคราะห์ค่าทีเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2 ภาคเรียน(มัธยม) หรือ 2 ปีการศึกษา(ประถม))
⬜ แบบสรุปผลการเรียนรู้ตามเกณฑ์ของหน่วยงาน
⬜ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.1.3 ผลการประเมินการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ
คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษาที่ผ่านมา
= ……
คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษาปัจจุบัน
= ……
⬜ รายงานผลการประเมินและหรือผลการทดสอบของหน่วยงานในระดับเขต/ประเทศ
(ผลการทดสอบโอเน็ต)
⬜ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.ให้รายงานในรอบ 2 ปีที่ทำการสอนในวิชาที่เสนอขอรับการประเมิน ดังนี้
2.1 ผู้เรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอ จำนวน ….คน
2.2 ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ ร่างกายสติปัญญา อารมณ์และสังคม ตามหลักสูตร/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)และตามสถานศึกษากำหนดในระดับดี จำนวน …….คนคิดเป็นร้อยละ…….
⬜ รายงานผลการพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยพิจารณาจากสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนด
⬜ รายงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในชั้นเรียนของตนเอง
⬜ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.2.3 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี จำนวน ……… คน คิดเป็นร้อยละ ………⬜ รายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และตามที่สถานศึกษากำหนด
⬜ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6.3.1 ปริมาณงาน
จำนวนชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์…………..ชั่วโมง
จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชา และระดับชั้นที่สอน…………
ปฏิบัติงานอื่น (ถ้ามี) โปรดระบุ……………
⬜ คำสั่งของสถานศึกษาที่มอบหมายให้ปฏิบัติงาน
⬜ ตารางสอนที่สถานศึกษาให้การรับรอง
⬜ บัญชีจัดชั้นเรียน
⬜ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
7.3.2 สภาพของงาน
– รับผิดชอบนักเรียนที่มีความจำเป็นต้องการพิเศษ
– รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการหลายประเภทความพิการและมีลักษณะอาการรุนแรง
– รับผิดชอบนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม
– สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ
– สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขา หรือเกาะ หรือติดต่อกับรอยตะเข็บชายแดน
– สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กันดาร เสี่ยงภัยตามประกาศของทางราชการ เป็นต้น
⬜ คำสั่งของสถานศึกษาที่มอบหมายให้ปฏิบัติงาน
⬜ ข้อมูลสารสนเทศของฝ่ายแนะแนว
⬜ เอกสารสรุปลักษณะของความหลากหลายด้านต่างๆ ของผู้เรียน
⬜ หลักฐานแสดงที่ตั้งของโรงเรียน
⬜ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ
⬜ เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ตาราง Check list รายการด้านบน เพื่อนำไปตรวจสอบหลักฐานที่มีให้สมบูรณ์มากที่สุด โดยดาวน์โหลดจากลิงค์ด้านล่างนี้ครับ 😄

Check-list-เอกสารหลักฐานแนบภาคผนวก-แบบ-กคศ.3ดาวน์โหลด

เมื่อทำการศึกษา ทำความเข้าใจในการเขียนรายงาน ตามแบบ ก.ค.ศ.3/1 แล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะรวบรวมข้อมูลและจัดทำออกมาครับ ผมมีตัวอย่างแบบฟอร์มเป็นไฟล์ word เพื่อเอาไปดัดแปรง แก้ไขให้สอดคล้องกับของตัวเอง โดยผมจะทำไฮไลท์ไว้ว่าข้อมูลที่ต้องแก้ไขมีส่วนไหนบ้างนะครับ เนื่องจากเป็นเอกของตัวเอง จึงขอละเนื้อหาที่เป็นส่วนตัวเอาไว้บางส่วนนะครับ ท่านสามารถดาวน์โหลดฟอร์มเอกสารเพื่อนำไปแก้ไขจากที่นี่

กคศ.3-blank-and-Hightดาวน์โหลด

คำศัพท์ที่ควรรู้ความหมายในเอกสาร

  1. วิชาที่สอน เป็นวิชาที่สอนในกลุ่มสาระ/สาขาวิชา ที่เสนอขอรับการประเมินส่งเป็นผลงาน เช่น ส่งผลงานสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ให้รายงานเฉพาะผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นผลการเรียนวิชาที่ส่งเป็นผลงาน ของทุกชั้น ทุกห้องเรียนที่สอนตลอดปีการศึกษาหรือตลอดภาคเรียน ตามระดับและหลักสูตรที่สอน นำมารายงาน เช่น สอนระดับประถมศึกษา ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเมื่อต้นปีการศึกษาและหลังเรียนเมื่อปลายปีการศึกษา สอนระดับมัธยมศึกษาหรอสูงกว่า ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเมื่อต้นภาคเรียน และหลังเรียนเมื่อปลายภาคเรียนที่ผ่านมา เป็นผลการประเมินล่าสุดของปีปัจจุบันที่ส่งผลงาน ปีปัจจุบัน ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาที่สอนปีล่าสุด เช่น สอน ระดับประถมศึกษา ส่งผลงานระหว่างปีการศึกษา 2555 ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของปีการศึกษา 2554 เป็นปีปัจจุบัน สอนระดับมัธยมศึกษาส่งผลงานระหว่างภาคเรียนที่ 2 ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของภาคเรียนที่ 1 ที่ผ่านมาเป็นปีปัจจุบันเป็นต้น
  3. ปีปัจจุบัน ให้ใช้ผลสมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาที่สอนปีล่าสุด เช่น สอนระดับประถมศึกษา ส่งผลงานระหว่างปีการศึกษา 2555 ให้ใช้ผลสมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2554 เป็นปีปัจจุบัน ถ้าสอนระดับมัธยมศึกษาส่งผลงานระหว่างภาคเรียนที่ 2 ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ที่ผ่านมาเป็นปีปัจจุบัน เป็นต้น
  4. คะแนนก่อนเรียน หลังเรียน คือคะแนนสอบของนักเรียนเพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียน นิยมใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันหรือคู่ขนาน ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับคะแนนรวมตลอดภาคเรียนเพื่อตัดสินผลการเรียนก็ได้
  5. คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) เป็นคะแนนที่ปรับเป็นค่ามาตรฐานเพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ ถ้าเป็นคะแนนทีเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนตลอดปีการศึกษาที่ผ่านมา ใช้กับระดับประถมศึกษา ส่วนคะแนนทีเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนตลอดภาคเรียนที่ผ่านมาใช้กับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่า การนำเสนอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอนหลายห้องเรียนและหรือหลายระดับชั้นสามารถนำคะแนนมาเรียงต่อกันได้
    *ศึกษาการหาค่า Average T score จากบทความของผมครับ
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประถมศึกษามัธยมศึกษาหรือสูงกว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียนก่อนเรียน (ต้นปีการศึกษา)
หลังเรียน (ปลายปีการศึกษา)
*ปีการศึกษาล่าสุด
ก่อนเรียน (ต้นภาคเรียน)
หลังเรียน (ปลายภาคเรียน)
*ภาคเรียนล่าสุด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาใช้ 2 ปีเทียบกัน ใช้ 2 เทอมเทียบกัน (1ปี)
หรือ ใช้ 2 เทอมเทียบกัน (2ปี)

อธิบายเพิ่มเติมจากตาราง โดยการยกตัวอย่าง เช่น ส่งผลงานระดับประถมศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2555 ต้องใช้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียน ปี 2554 ต้นปี กับ ปลายปี เทียบกัน

ส่งผลงานระดับมัธยมศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2555 เทอม 1 ต้องใช้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียน ปี 2554 เทอม 1 กับ เทอม 2 เทียบกัน

สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษา ของระดับประถมศึกษา ต้องใช้ 2 ปีการเรียนเทียบกัน ส่วนของมัธยมศึกษาในแบบไม่ได้ระบุชัดเจน อาจจะใช้เป็น 2 เทอมเทียบใน 1 ปี คือ ส่งผลงานภาคเรียนที่ 1 ปี 2555 ต้องนำผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนภาคเรียนที่ 1 กับ 2 ของปี 2554 มาเทียบ หรือ อาจจะใช้ ภาคเรียนที่ 2 ของปี 2554 และ ภาคเรียนที่ 2 ของปี 2553 มาเทียบกันก็ได้ (ในแบบไม่ได้กำหนดบอกไว้ แต่ส่วนใหญ่เขตพื้นที่จะใช้ 2 ปี)

สุดท้ายแล้วหวังว่าท่านจะเข้าใจการเขียนรายงาน ก.ค.ศ.3/1 และเขียนออกมาได้สมบูรณ์แบบมากที่สุดเพื่อให้กรรมการอ่านและประเมินผ่านในที่สุดนะครับ ขอให้โชคดี 😘


ผมมีบริการคำนวณค่า Average T score ให้สำหรับคนที่ไม่สามารถคำนวณได้เองนะครับ โดยส่งเป็นไฟล์ excel หรือ word ไฟล์คะแนนของปีการศึกษา หรือ ภาคเรียน มาทางไลน์ หลังจากคำนวณเสร็จจะส่งเป็นไฟล์ excel พร้อมพิมพ์แนบเอกสารภาคผนวกได้เลยครับ (ใช้เวลา 1-2 วัน) 😉สนใจแอดไลน์แล้วทักมานะครับ อิอิ 😝

เอกสารอ้างอิง :

  1. บทความ การเรียนรายงานผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) แบบ ก.ค.ศ.3/1 ของ ศ.น.เสกสรรค์ อรรถยานันทน์ สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/thanakit553/3-1-35613903
  2. คู่มือเกณฑ์วิทยฐานะ ตามหนังสือ ก.ค.ศ. ว17/2552 สืบค้นจาก http://www.sisaketedu1.go.th/news/?p=60839
  3. สำนักงาน ก.ค.ศ. คู่มือการประเมินราชการครูและบุคกรทางการศึกษา เพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สายการสอน. เอกสารอัดสำเนา. 2554
  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

Like this:

Like Loading...

Related


Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe to get the latest posts sent to your email.

Leave a ReplyCancel reply

ติดต่อ

LineID: @krujakkrapong
โทร.089-942-9565 (เปี๊ยก)

ความเห็นล่าสุด

  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม - KruJakkrapong 's Blog บน ค่าความเชื่อมั่นติดลบ จะแก้อย่างไร
  • Anonymous บน ชุดแบบฝึกหัด การบวก ลบ สำหรับซ้อมเพื่อแข่งขัน คิดเลขเร็ว

Blog Stats

  • 1,901,968 hits

3 บทความยอดฮิต

  • การหาค่าความยาก (p) และอำนาจจำแนก (r) ของข้อสอบปรนัย
  • วิธีหาอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นจาก SPSS
  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Designed by WPZOOM

Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

 

Loading Comments...
 

    %d