Jamovi คือโปรแกรมคำนวณค่าสถิติที่มีความสามารถหลากหลาย และสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะผ่านเว็บเบราเซอร์หรือติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรีและเปิดเผยซอร์สโค้ด ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการใช้โปรแกรมสถิติที่มีคุณภาพ แต่ไม่ต้องเสียเงินซื้อลิขสิทธิ์ เจ้าโปรแกรม Jamovi สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้หลายประเภท เช่น t-test, ANOVA, linear regression, mixed models, Bayesian models และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นไหมล่ะว่า มันครบและครอบคลุมไม่ต่างจาก SPSS เลยทีเดียวครับ 😦
Jamovi เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นจากภาษา R ซึ่งเป็นภาษาสถิติที่ได้รับความนิยมในวงการวิจัย ดังนั้น ผู้ใช้งาน Jamovi สามารถเข้าถึงฟังก์ชันและแพ็กเกจต่างๆ ของ R ได้ง่าย และยังสามารถดูโค้ด R ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วย นอกจากนี้ Jamovi ยังมีรูปแบบการแสดงผลที่สวยงาม และสามารถส่งออกไฟล์รายงานในรูปแบบ HTML, PDF, ODT หรือ DOCX ได้
การใช้งาน Jamovi ไม่ยากเลย คุณสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ jamovi.org และเลือกใช้งาน Jamovi Cloud ซึ่งเป็นการใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ ไม่ต้องดาวน์โหลดหรือติดตั้งอะไรเพิ่มเติม หรือคุณสามารถดาวน์โหลด Jamovi Desktop ซึ่งเป็นการติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โปรแกรมนี้มีให้เลือกทั้ง Windows, macOS, Linux และ ChromeOS การใช้งาน Jamovi จะมีหน้าตาเหมือนกับสเปรดชีตหรือ Excel ที่คุณสามารถนำเข้าข้อมูล หรือป้อนข้อมูลเองได้ และเลือกวิเคราะห์ข้อมูลตามที่คุณต้องการ โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ และกราฟ ที่คุณสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ
Jamovi เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์สำหรับนักวิจัย นักศึกษา หรือผู้ที่ต้องการใช้งานโปรแกรมสถิติที่มีคุณภาพ แต่ไม่ต้องเสียเงิน หรือเรียนรู้ภาษาสถิติที่ยาก โปรแกรมนี้มีความสามารถหลากหลาย ใช้งานง่าย และมีการอัปเดตอยู่เสมอ ถ้าคุณสนใจใน Jamovi คุณสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ jamovi.org และเริ่มใช้งานได้เลย 😉
เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผมจะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วย Jamovi ให้ดูแล้วกันนะครับ
การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรแบบเป็นอิสระกัน เช่น ต้องการตรวจสอบว่า คะแนนแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ขึ้นกับเพศของลูกค้าหรือไม่
จะเห็นว่าตัวต้น เป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม 1 ตัวที่ีมี 2 กลุ่มย่อย คือ ชาย และ หญิง จากนั้นตัวแปรตามคือตัวแปรเชิงปริมาณ 1 ตัว นั่นก็คือคะแนนแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้านั่นเองละครับ
สมมติฐาน
คะแนนแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ไม่ขึ้นกับเพศของลูกค้า
คะแนนแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ขึ้นกับเพศของลูกค้า
คะแนนจากแบบสอบถามผมได้แปลงเพศชาย ชาย = 1 และ เพศหญิง = 2 พร้อมกับคะแนนแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าดังตัวอย่างในไฟล์ คลิกดาวน์โหลดไฟล์ด้านล่างนี้
หลังจากที่ดาวน์โหลดไฟล์ excel แล้วจะเห็นคะแนนในช่องดังนี้ครับ
ให้เปิดโปรแกรม Jamovi จากนั้นแนะนำให้ log in ด้วยบัญชี gmail ของท่านเลือกเป็นแบบฟรีนะครับ แต่ข้อเสียของแบบฟรีคือ เวลาที่มีคนใช้งานเยอะๆ มันจะล็อกอินเข้าสู่ระบบได้ยาก โดยจะมีข้อความเตือนแบบนี้ครับ หมายความว่า ตอนนี้กำลังมีผู้ใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก อยากให้คุณใช้แบบเสียตังค์นั่นเองครับ 😡 ผมมักจะใช้วิธีออกจากระบบก่อนแล้วลองเข้าใหม่อีกทีครับ
เมื่อเข้าระบบได้แล้วจะเห็นเป็นหน้าเปล่าๆ คล้ายๆ กับ Spreadsheet หรือ Excel เป็นตารางแบบนี้เลยครับ
จากนั้นก็ทำการ copy ค่าคะแนนจาก excel ตัวอย่างของผมลงมาใส่ในช่องตัวแปร A (ตัวแปรเพศ) และตัวแปร B (ตัวแปรตาม) ได้ดังภาพ แล้วเลือกที่ Analysis > T-Test
เลือก Independent Samples T-Test
คลิกเลือกตัวแปรด้านซ้ายมือ โดยเอาตัวแปรตาม B ใส่ในช่อง Dependent Variables และตัวแปรต้น A ใส่ในช่อง Grouping Variable จากนั้นเราอาจจะตรวจการแจกแจงปกติของข้อมูลโดยติ๊กเอาช่อง Normality test และตรวจสอบความแปรปรวนของประชากรทั้งสองกลุ่มด้วยคำสั่ง Homogeity test
สิ่งสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์ครั้งนี้คือตาราง Independent sample T-Test ดังภาพ ซึ่งได้ค่า p น้อยกว่า 0.001 แสดงว่า มันปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 นั่นคือ เพศมีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 นั่นเอง
ถ้าในโปรแกรม SPSS ค่าตรงนี้เขาจะดูกันที่ Sig. แทนค่า p นั่นเองว่า น้อยกว่า .05 ที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ถ้าน้อยว่าก็แสดงว่ามัน Sig. หรือมันปฏิเสธสมมติฐานหลักของเรานั่นเอง
คราวนี้เรามาดูเปรียบเทียบผลที่ได้จาก SPSS กันบ้างครับโดยผมใช้ข้อมูลเดียวกันในการวิเคราะห์นะครับ
หลังจากที่คลิกเพื่อวิเคราะห์ด้วย SPSS แล้วจะได้ค่าดังนี้ครับ
จะเห็นได้ว่าค่าที่ได้จาก SPSS จะมีให้อ่านค่าเยอะกว่า Jamovi นะครับ ผมจะขออธิบายค่าดังนี้ ค่า F และค่า Sig. ใน 2 ช่องแรก เป็นการทดสอบว่าค่าความแปรปรวนของประชากรของทั้งสองกลุ่ม (ชายและหญิง) ว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ โดยใช้สถิติ Levene โดยมีสมมติฐานดังนี้
หรือ ความแปรปรวนคะแนนแนวโน้มของชาย = ความแปรปรวนคะแนนแนวโน้มของหญิง
หรือ ความแปรปรวนคะแนนแนวโน้มของชาย ไม่เท่ากับ ความแปรปรวนคะแนนแนวโน้มของหญิง
ในที่นี้จะเห็นว่า มันมีค่า Sig. = 0.002 นั่นคือมันน้อยกว่า 0.05 จึงปฏิเสธ ยอมรับ นั่นคือ ความแปรปรวนคะแนนแนวโน้มของชาย ไม่เท่ากับ ความแปรปรวนคะแนนแนวโน้มของหญิง
ค่า Levene นี้จริงๆแล้วมีใน Jamovi ด้วยนะครับ สังเกตจากภาพด้านล่างนี้ที่ผมครอบกรอบแดงเอาไว้ คือ หมายเหตุว่า ค่า Levene มัน Sig นั่นเอง หรือความแปรปรวนของคะแนนแนวโน้มของประชากรไม่เท่ากันนั่นเองครับ 😉
ถัดมาเราจะมาดูค่า Sig. ของการทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนแนวโน้มของชายและหญิงดังนี้ครับ เนื่องจากค่าความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน เราจึงใช้ค่า Sig. ตัวล่างนะครับ แต่เราถ้าทดสอบ Levene แล้วถ้ามันไม่ Sig. แสดงว่า ค่าความแปรปรวนเท่ากันก็จะใช้ Sig ตัวบนครับผม งงไหมเอ่ย 😦 (แต่ในตารางนี้มันก็ได้ 0.000 เท่ากันเยย)
ดังนั้นสรุปว่า มัน Sig. นะครับเพราะน้อยกว่า 0.05 ที่ตั้งไว้ สรุปแว้!! ค่าเฉลี่ยของคะแนนแนวโน้มมีค่าแตกต่างกัน หรือ จะสรุปว่า เพศมีผลต่อคะแนนแนวโน้มที่ระดับนัยสำคัญ .05 นั่นเองครับ 😮
สรุป :
เราสามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ชื่อ Jamovi ในการคำนวนค่าสถิติอ้างอิงหลายตัว เช่น T-test แทน SPSS ได้
ข้อจำกัดคือ ใช้งานได้ครั้งละ 40 นาที และบางครั้งเข้าใช้งานไม่ได้ถ้ามีคนใช้งานออนไลน์ขณะนั้นเยอะ วิธีแก้คือ log out ออกจากระบบแล้วรอสักครู่จากนั้นให้เข้าใหม่ อีกวิธีแก้คือ ดาวน์โหลดแบบ Desktop มาติดตั้งในเครื่องเอง
นอกจากค่า t-test แล้วเจ้า Jamovi ยังสามารถคำนวณสถิติตัวอื่นๆได้อีกด้วย เช่น One Way ANOVA ไปจนถึงการทำ Regression ก็ทำได้เช่นกันกับ SPSS
รับวิเคราะห์ข้อมูล ค่าสถิติ T-TEST ANOVA ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ด้วยโปรแกรม SPSS และ Excel สามารถไลน์มาสอบถามข้อมูลก่อนได้ครับที่ @krujakkrapong ยินดีให้บริการในราคากันเอง 😉
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.