KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About
0

Follow us

  • facebook
  • youtube
KruJakkrapong 's Blog
  • Home
  • Portfolio
  • Blog
  • Shop
  • About

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Play Pause Unmute Mute

สูตร 7-11 นี่จำง่ายจริงๆ นะ

Written by จักรพงษ์ แผ่นทอง in คิดเลขเร็ว on กุมภาพันธ์ 18, 2019

ถ้าเห็น 7-11 นี่เรานึกถึงอะไรกันนะ ก็นึกถึงร้านสะดวกซื้อไงล่ะ แต่คราวนี้เราจะใช้เทคนิคลิงค์และล็อคเพื่อจดจำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับสูตรการคิดเลขเร็ว

เมื่อพูดถึง summation คงจะนึกออกกันแล้วใช่ไหมว่าผมกำลังจะพูดถึงอะไร มาดูกันเลย!

[mathjax]

    \[\sum_{i=7}^{11}(i \times i)=415\]

เรื่องมีอยู่ว่า เด็กชายคิดเร็ว เหมือนจรวด มีเงินอยู่ 451 บาท เขาไม่ได้กินข้าวมาตั้งแต่เมื่อเช้า จึงเดินไปที่ 7-11 เห็นข้าวผัดกระเพราหมู ราคา 36 บาท เขาจึงหยิบให้พนักงานอุ่นร้อนให้สักครู่ เขาเดินออกจากมา 7-11 โดยเหลือเงินอยู่ 415 บาท

ดังนั้นเราจะได้สูตร ไป 7-11 คือ summation ตั้งแต่ 7 ถึง 11 ของ ixi เท่ากับ 415 ให้จดจำไว้นะครับ

อีบุ๊กสูตรคิดเลขเร็ว
ส่วนหนึ่งของ E-book คิดเลขเร็ว

จากเรื่องของเด็กชายคิดเร็ว เลข 451 มันคือเลขอะไร ดูผิวเผินคือเลขทั่วๆ ไป แต่ผมกำลังจะลิงค์กับ summation อีกตัวหนึ่งคือ

    \[\sum_{i=6}^{11}(i \times i)=451\]

หมายความว่า ตอนที่เด็กชายคิดเร็ว ไปไม่ถึง 7-11 เขามีเงินอยู่ 451 บาท นั่นก็แปลว่า “ไปยังไม่ถึง” แทนที่จะ summation จาก 7 แต่ “ยังไม่ถึง” ก็เลย summation จาก 6 จึงได้ 451 ไงล่ะ (ไม่งงนะ) ไหนๆ จะจำเป็นเรื่องแล้ว ก็จำให้มันได้สัก 2 summation พร้อมๆ กันไปเลยดีกว่า

แล้ว มี summation อะไรอีกมั้ยที่ใช้ 7-11 และน่าสนใจ มีอีกตัวนะ คือ

    \[\sum_{i=6}^{11}(i+i)=90\]

แต่ว่าสูตรนี้มันจะไปตรงกันกับสูตร \frac{6!}{8}=90 และยังตรงกับสูตร \sum_{i=2}^{6}i \times i=90 ซึ่งสองสูตรหลังดูจะมีประโยชน์กว่า เพราะว่า เลขที่ใช้มันหาง่ายกว่าไง เป็นเลขที่สุ่มได้เลย ยิ่งเลข 6 แล้วยิ่งมีโอกาสเกิดสูง ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ต้องใช้ \sum_{i=6}^{11}(i+i)=90 กว่าจะหา 11 ได้ก็ไม่ง่ายนะ ต้องใช้เลขที่สุ่มไปอย่างน้อยถึง 2 ตัวเพื่อทำให้เกิด 11 ดังนั้น 415 หรือ 451 น่าจะจดจำไว้ดีกว่า เหตุผลอีกอย่างคือ ผลลัพธ์หลัก 400 เป็นอะไรที่หายาก หากสุ่มผลลัพธ์ 3 หลักได้ใกล้เคียง 415 หรือ 451 ก็ควรหาเลข 6, 7, 11 มาทำ summation จะมีโอกาสสูงที่จะได้คำตอบเป๊ะๆ

มาฝึกจากตัวอย่างกันเลย

สุ่ม 2, 3, 5, 5, 0 = 416

จากข้อนี้ 416 ไม่ใช่เลขที่เราจดจำ แต่เลขที่เราจัดจำมันคือ 415 ที่เกิดจาก 7 และ 11 หากเราจะทำให้ได้ 416 จะต้องตั้งด้วย 415 แล้วบวกเพิ่มไปอีก 1 เป็น 415+1 = 416 ดังนั้นเราควรหาเลข 1 เก็บเอาไว้บวกทีหลัง แล้วหา 7 และ 11 จากเลขที่เหลืออยู่ดีกว่านะ

หากหักเลข 0 ออกไปเพื่อเอาไปทำ 1 แล้วจะเหลือเลข 2, 3, 5, 5 พอที่จะทำ เป็น 7-11 นำ 2+5 = 7 เหลือ 3 และ 5 จะเห็นว่ามีโอกาสได้ 11 พอดี เพราะ 3!+5=11 เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วก็เขียนเลย

    \[\sum_{i=2+5}^{3!+5}(i \times i)+0!=416\]

ลองหาหลักการคล้ายๆ เรื่องนี้ผูกเป็นเรื่องให้เด็กจดจำ จะทำให้เด็กจำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องให้รู้ความหมายของ summation ด้วยนะครับ ^_^


หากต้องการ หนังสือ Sum Book รวมสูตร Summation หรือ ซิกม่า ช่วยอุดหนุน E-BOOK ของเราได้ ที่นี่  ถูกมาก เล่มละ 50 บาท

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

Like this:

Like Loading...

Related


Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe to get the latest posts sent to your email.

Leave a ReplyCancel reply

ติดต่อ

LineID: @krujakkrapong
โทร.089-942-9565 (เปี๊ยก)

ความเห็นล่าสุด

  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม - KruJakkrapong 's Blog บน ค่าความเชื่อมั่นติดลบ จะแก้อย่างไร
  • Anonymous บน ชุดแบบฝึกหัด การบวก ลบ สำหรับซ้อมเพื่อแข่งขัน คิดเลขเร็ว

Blog Stats

  • 1,901,787 hits

3 บทความยอดฮิต

  • การหาค่าความยาก (p) และอำนาจจำแนก (r) ของข้อสอบปรนัย
  • วิธีหาอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นจาก SPSS
  • การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม

Copyright © 2025 — KruJakkrapong 's Blog

Designed by WPZOOM

Discover more from KruJakkrapong 's Blog

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

 

Loading Comments...
 

    %d