ช่วงสงกรานต์ผมได้กลับมาบ้านครับ ทุกเทศกาลการกลับบ้าน เป็นอะไรที่มีความหมายมากสำหรับคนทำงานที่ไกล ผมก็เช่นกัน
ปีนี้พิเศษกว่าอีก เพราะก่อนกลับบ้าน วันที่ 12 ผมมีเรื่องเล่ายาวเรื่องหนึ่ง ก่อนกลับบ้านด้วยครับ แต่มานั่งเขียนตอนกลับมาบ้านแล้วนะ อ่านได้ครับ
ทุกครั้งที่ผมกลับมาบ้าน ผมจะต้องพกหนังสือสักเล่ม เพื่อติดมือมาอ่านด้วยเสมอ ครั้งนี้ก็เช่นกัน เป็นหนังสือ ชื่อเรื่องว่า Lead to Lead อ่านอย่างผู้นำ
แต่ครั้งนี้ที่พิเศษคือ หนังสือบอกให้ผมรีวิวครับ ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ว่าด้วยการอ่านครับ
หนังสือ Lead to lead เป็นอย่างไร
Read to Lead เป็นหนังสือที่ปกสวย น่าอ่านมากครับ เมื่อดูที่ปกจะเห็นข้อความเสริมว่า ‘เพิ่มเทคนิคการอ่านเร็ว‘ อีกด้วย แถม รายได้ของคนเขียนมอบเป็นการกุศลทั้งหมดอีกต่างหากครับ แหม! ถ้าไม่อุดหนุดก็ไม่รู้ว่าจะยังไงแล้วครับ ผมอุดหนุนมา 1 เล่มจากคำบอกเล่าของคุณอานนทวงศ์ เจ้าของบล็อก anontawong ที่ผมติดตามอ่านอยู่เป็นประจำครับ
จริงๆ แล้วผมไม่ได้เพิ่งซื้อหนังสือเล่มนี้นะครับ ผมซื้อตอนช่วงคุมสอบที่โรงเรียน ขณะนั้นจะมีเวลาว่างมาก ผมเลยอ่านไปแล้วกว่าครึ่งเล่ม เนื้อหาในส่วนแรก จะเกี่ยวกับผู้นำต่าง ๆ ที่ชอบการอ่านครับ ดร.ณัชร สยามวาลา เป็นคนเขียนหนังสือเล่มนี้นะครับ
บุคคลเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้นำระดับสูงๆ เช่น ประธานาธิบดีของสหรัฐหลายคนเลยล่ะ
ช่วงสงกรานต์นี้ผมอ่านส่วนที่เหลือจากที่อ่านไปแล้ว คือ ว่าด้วยเรื่องการอ่านเร็วครับ มีเทคนิคที่น่าสนใจหลายอย่างที่ ดร.ณัทร ได้รวบรวมจากหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และอ้างอิงไปยังแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มอื่น ๆ อีกมากมายครับ
อยากอ่านหนังสือได้เร็ว ทำอย่างไร
ผมจะเขียนเท่าที่ผมจับประเด็นได้แล้วกัน ถือว่าเป็นการทบทวนความจำของตนเองด้วยครับ
เริ่มจากคุณเห็นหนังสือสักเล่ม
อ่านปก ชื่อหนังสือแล้ว
ให้คุณคิดก่อนว่า ภายในเนื้อหาคุณต้องการอะไรจากหนังสือครับ
มันเป็นการตั้งเป้าหมายให้กับตัวเราก่อนครับ ถ้าหากว่าเป้าหมายของเราตรงกับหนังสือ เราจะจำมันได้ดีขึ้นครับ
ต่อมาให้ แสกน ดูที่ สารบัญ ครับ อันนี้สำคัญ เพราะเราจะได้รู้ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราอยู่ส่วนไหนของหนังสือ และมีความเกี่ยวเนื่องของเนื้อหาอย่างไรบ้าง ทำให้เราอ่านหนังสือได้เร็วขึ้นครับ
ขณะอ่าน มีเทคนิคอยู่ว่า ก่อนอ่านควร ตั้งสมาธิ ให้ดี อาจจะอ่านอยู่ใต้ต้นไม้ก็ดีถ้ามีโอกาส ช่วงสงกรานต์นี้ผมก็ได้อ่านใต้ต้นขนุนและต้นมะม่วงละครับ แต่โชคดีขนุนไม่หล่น ฮ่าฮา
ท่านั่งอ่านก็สำคัญ ควรนั่งกับเก้าอี้ให้สะโพกติดกับพนักพิงให้มากที่สุด นั่งเอนหลังประมาณ 100 องศา ถือหนังสือหรือวางบนแท่นอ่านจะดีที่สุด
ขณะอ่านควรใช้ปากกา หรือนิ้วลากไปตามตัวหนังสือให้เร็วกว่าสายตานิดหนึ่ง ถ้าหากไม่ได้อ่านเพื่อจำให้อ่านในใจจะได้เร็วกว่าอ่านออกเสียง แต่ถ้าหากต้องจำเนื้อหาให้อ่านออกเสียง
เทคนิคส่วนตัวของ ดร.ณัทร คือ การใช้ปากกาเน้นข้อความช่วยลากไป เจอข้อความที่น่าสนใจก็ขีดเอาไว้เพื่อทบทวนอีกรอบ อันนี้ก็น่าสนใจครับ
ควรตั้งเป้าการอ่านไว้ด้วยครับ คุณ ณัทรใช้ Google calendar (เป็น แอปพลิเคชันของ google) ช่วย ผมก็กดแอพและตั้งตั้งแอพทันทีอ่านถึงตรงนี้เลยครับ
ให้ตั้งเป้าว่าจะอ่านหนังสือให้ได้ทุกๆ วัน วันละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
ในส่วนสุดท้ายของหนังสือ มีอะไรบ้าง
ในส่วนของหนังสือส่วนสุดท้าย ว่าด้วยเรื่องที่คุณณัทรไปสัมภาษณ์ นักอ่านที่เป็นไอดอลของเมืองไทยหลายคนเลย ผมอ่านแล้วรู้สึกทึ่งไปเลยครับ
บางคนอ่านหนังสือเยอะมากจริง ๆ แทบไม่น่าเชื่อเลย และเป็นคนคงแก่เรียนอย่างมาก ได้รับทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ และอ่านหนังสือที่เป็น Text ภาษาอังกฤษ เยอะมาก มีความรู้ทกแขนง สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง โอ้! แม่เจ้า ผมยังไม่ได้เสี้ยวเลย แต่ผมจะพยายามครับ
ผมอ่านถึงตรงนี้แหละครับ เลยอยากแชร์ไว้ที่บล็อกเล็กๆ แห่งนี้ บันทึกเอาไว้ ถือว่าเป็นเทคนิคอีกแบบที่ผมพยายามถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอ่านออกมา นอกจากจะช่วยทำให้เราจำได้ดีขึ้นแล้ว ยังอาจเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ อีกด้วย
ถ้าอ่านเฉยๆ จะจำเนื้อหาได้ประมาณ 10% แต่ถ้าถ่ายทอดโดยการเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง หรือแชร์ในบล็อกแบบนี้เราจะจำได้เพิ่มขึ้นกว่า 70%!
นี่เป็นเหตุผลหลักที่มาแชร์ครับ 😀
แต่เหตุผลรองคือ อยากสนับสนุนหนังสือเล่มนี้ครับ “Read to Lead อ่านอย่างผู้นำ” หามาอ่านซะนะถ้ามีโอกาส
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.