การวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ มี 2 ประเภท การวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ สำหรับการวิเคราะห์หาคุณภาพรายข้อทำได้ 2 ลักษณะคือ การหาค่าความยาก และอำนาจจำแนก สำหรับการหาค่าความยาก เป็นการหาค่าตัวเลขที่บอกว่าข้อสอบมีความยากง่ายเพียงใด ส่วนอำนาจจำแนกเป็นการแยกแยะผู้สอบออกเป็นกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน เป็นตัวเลขที่จะบอกได้ว่าสามารถแยกแยะคนทั้งสองกลุ่มนี้ได้เพียงใดนั่นเอง
สำหรับการวิเคราะห์หาคุณภาพทั้งฉบับ สามารถวิเคราะห์ได้ 2 ด้านคือ หาค่าความเชื่อมั่น (แอลฟาคอนบาค) เป็นการหาค่าความคงที่ในการวัดผล ที่เกิดจากการวัดผลและสถานการณ์เงื่อนไขเดียวกันจะได้ผลลัพธ์เดียวกันมากน้อยแค่ไหน และอีกด้านคือ การหาความเที่ยงตรง เป็นความสามารถในการตรวจสอบผลการวัดได้ว่า ถูกต้อง แม่นยำ
ในการจัดการเรียนการสอน จำเป็นต้องมีการวัดผล ที่นิยมใช้มี 2 แบบ ได้แก่
- การวัดผลแบบอิงเกณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์หรือไม่
- การวัดผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการวัดผลว่าผู้เรียนอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับกลุ่ม
การวัดผลจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนเพียงใด ขึ้นอยู่เครื่องมือที่ใช้วัด สำหรับเครื่องมื่อที่นิยม คือ ข้อสอบ (Item) ดังนั้นข้อสอบจำเป็นต้องมีคุณภาพจึงจะสามารถวัดผลออกมาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นข้อสอบจะมีคุณภาพจะต้องผ่านการวิเคราะห์คุณภาพมาก่อน โดยการวิเคราะห์ข้อสอบ ก็แบ่งเป็นวิเคราะห์ข้อสอบก่อนนำไปใช้ และการวิเคราะห์หลังจากที่ใช้ข้อสอบแล้ว โดยจุดมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพและข้อบกพร่องของข้อสอบ
วิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ
เราวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อเพื่อให้ทราบว่าข้อสอบแต่ละข้อสามารถวัดผลได้ถูกต้องเพียงใด ได้แต่ การวิเคราะห์ค่าความยาก (Difficulty) และค่าอำนาจจำแนก (Discrimination)
ประโยชน์ของความยาก (Difficulty) ของข้อสอบ
ข้อสอบที่ดีต้องมีความยากเหมาะสม คือประกอบด้วยข้อที่ ยาก ง่าย ค่อนข้างง่าย ประกอบกันอยู่ การพิจารณาค่าความยาก อาจจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการสอบ ถ้าเป็นการสอบคัดเลือก ควรมีค่าความยากสูง ส่วนข้อสอบเพื่อพิจารณาว่าบุคคลเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ควรเป็นข้อสอบระดับปานกลาง มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.2-0.8 โดยทั่วไปนิยมคำนวณค่าความยากจากสูตรดัชนีค่าความยากหรือดัชนีค่าความง่าย
ดัชนีค่าความยาก
แทน ดัชนีค่าความยากของข้อสอบ
แทน จำนวนผู้ที่ตอบข้อนั้นผิด
แทน จำนวนผู้ที่ทำข้อสอบข้อนั้นทั้งหมด
การแปลความหมายของดัชนีค่าความยาก
ค่าความยาก () | ความหมาย |
.00-.19 | ง่ายมาก |
.20-.39 | ค่อนข้างง่าย |
.40-.60 | ยากปานกลาง |
.61-.80 | ค่อนข้างยาก |
.81-1.00 | ยากมาก |
การหาค่าความยากของข้อสอบ เราจะเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากพอเหมาะ ซึ่งมีค่าระหว่าง 0.2 – 0.8 นั่นเองครับ
การหาค่าความยากจากโปรแกรม SPSS
ตัวอย่างการคำนวณค่าความยากของข้อสอบปรนัย แบบตอบถูกได้ 1 และตอบผิดได้ 0 จากโปรแกรม SPSS ดังนี้
ผมมีไฟล์ Excel ตัวอย่างสามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ
จากนั้นนำคะแนนลงโปรแกรม SPSS ดังภาพ
ไปที่ Analyze > Scale > Reliability Analysis…
นำตัวแปรมาใส่ในช่อง Items จากนั้นกดที่ Statistics… จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาเลือก Item, Scale, Scale if item delete จากนั้นกด Continue แล้วมากด OK
เมื่อหน้าต่างแสดงผลออกมา เราจะได้ค่าความยากของข้อสอบแต่ละข้อ จากช่อง Item ตรงคอลัมภ์ Mean นะครับ ถ้าค่าอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 ถือว่า เป็นข้อสอบที่ใช้ได้ครับ
วิธีการหาอำนาจจจำแนก (Discrimination)
การหาค่าอำนาจจำแนก เป็นการแยกแยะผู้สอบออกเป็นกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน พิจารณาจากคะแนนสอบว่ามีการกระจายมากน้อยเพียงไร ค่าอำนาจจำแนก (r) มีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00 โดยที่ค่าอำนาจจำแนกรายข้อต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 0.20 ถึง 1.00 จึงจะถือว่าใช้ได้
เครื่องหมายของค่าอำนาจจำแนก | ความหมาย |
เป็นบวก + | คนเก่งตอบถูก คนอ่อนตอบผิด |
เป็น – | คนอ่อนตอบถูก คนเก่งตอบผิด |
เป็น 0 (หรือใกล้ 0) | คนเก่งและอ่อนตอบใกล้เคียงกัน |
การแปลความหมายของค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก | ความหมาย |
.20 ถึง 1.00 | จำแนกได้ |
-.19 ถึง .19 | จำแนกไม่ได้ |
-.20 ถึง -1.00 | จำแนกกลับ (ใช้ไม่ได้) |
วิธีการคำนวณค่าอำนาจจำแนกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับข้อสอบปรนัยหรืออัตนัย และจำนวนข้อสอบ ดังนี้
วิธีที่ 1 ใช้กับข้อสอบปรนัย ถูกได้ 1 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน เท่านั้น โดยแบ่งกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ (Kelley, 1939) เป็น 27% หรือ 33% หรือ 50% ถ้าผู้สอบมีจำนวนมากกว่า 100 คน มักใช้เทคนิค 27% แต่ถ้าต่ำกว่า 100 คน ควรใช้เทคนิค 50% หรือ 33% ของจำนวนทั้งหมด ในการแบ่งกลุ่มสูง หรือ กลุ่มต่ำ (Cureton, 1957) มีสูตรคำนวณดังนี้
แทน ดัชนีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ
แทน จำนวนผู้สอบที่ตอบถูกในกลุ่มสูง
แทน จำนวนผู้สอบที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ
แทน จำนวนผู้สอบทั้งหมดในกลุ่มสูง
แทน จำนวนผู้สอบทั้งหมดในกลุ่มต่ำ
การหาค่าอำนาจจำแนกข้อสอบปรนัยจากโปรแกรม SPSS
จากตัวอย่างที่แล้ว เราจะได้ผลการรัน SPSS มีตาราง Item-Total Statistics และมีคอลัมภ์หนึ่งคือ Corrected Item-Total Correlation เป็นค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบปรนัยนี้ครับ ถ้ามีค่าตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไปถือว่าเป็นข้อสอบที่จำแนกได้แล้วครับ
การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย
เนื่องจากข้อสอบอัตนัยไม่ได้ให้คะแนนถูก 1 ผิด 0 เหมือนกับข้อสอบปรนัย เราจะวิเคราะห์โดยใช้สูตร D.R Whitney and D.L Sabers, 1970 ต้องแบ่งกลุ่มเก่ง กลุ่มอ่อนโดยใช้เทคนิค 25% ของกลุ่มผู้ใช้คะแนนสูงและต่ำ ดังนี้
- ดัชนี้ค่าความง่าย จากสูตร
- ดัชนีค่าอำนาจจำแนกคำนวณจากสูตร
เมื่อ แทน ดัชนีค่าความง่าย
แทน ดัชนีค่าอำนาจจำแนก
แทน ผลรวมคะแนนของกลุ่มเก่ง
แทน ผลรวมคะแนนของกลุ่มอ่อน
แทน จำนวนผู้เข้าสอบของกลุ่มเก่งหรือกลุ่มอ่อน
แทน คะแนนสูงสุดในข้อนั้น
แทน คะแนนต่ำสุดในข้อนั้น
ตัวอย่างการคำนวณค่าความยากและอำนาจจำแนกของข้อสอบอัตนัย
ข้อมูลตัวอย่างนี้ผมจะคำนวณด้วย Excel นะครับ เริ่มจากมีข้อสอบอัตนัยจำนวน 10 ข้อ โดยแต่ละข้อมีคะแนน 0-3 คะแนน และข้อ 9 และ 10 มีคะแนน 0-5 คะแนน มีคนสอบทั้งหมด 34 คน โดยนำ 25% ของ 34 คนมีคิดกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ได้ค่าเท่ากับ 8.5 จึงนำมาแบ่งกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำอย่างละ 9 คน นำมาเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก แล้วตัดคะแนนออกมาดังภาพ ผมทำไฮไลท์ไว้เป็นสีเหลืองคือกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำครับ
จากนั้นก็คำนวณตามสูตรที่ให้ไว้ด้านบนโดยใช้ Excel ช่วยคำนวณจะได้ข้อมูลดังภาพ
จะเห็นว่า ค่าความง่าย P(E) ผ่านทุกข้อ มีค่าระหว่าง 0.2-0.8 ทุกข้อ แต่ค่าอำนาจจำแนก D ของข้อ 3 ยังไม่ผ่าน เพราะมีค่าน้อยกว่า 0.2 (ค่าที่ผ่านคือ 0.2 ขึ้นไป) ทำให้ตั้งตัดข้อสอบข้อ 3 ออก
นอกจากโปรแกรม Excel แล้วเรายังสามารถใช้โปรแกรม B-index ดาวน์โหลดโปรแกรมได้จากที่นี่ครับ และอ่านวิธีการคำนวณได้จากที่นี่
เอกสารอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อสอบ
รับวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ด้วยโปรแกรม SPSS และ Excel สามารถไลน์มาสอบถามข้อมูลก่อนได้ครับที่ @krujakkrapong ยินดีให้บริการในราคากันเอง
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.