ปกติแล้วถ้าหากว่าเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่ม เราจะใช้การทดสอบสมมติฐานแบบที (t-test) แต่ถ้าหากกลุ่มประชากรของเรามีมากกว่า 2 กลุ่มละ เช่น 3 หรือ 4 กลุ่มเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เราจะทำอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเรียกว่า เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance) ซึ่งในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีตัวแปรเดียว จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ซึ่งก็มีข้อตกลงเบื้องต้นว่า
- แต่ละกลุ่มมีการแจกแจงปกติ
- ความแปรปรวนของแต่ละประชากรเท่ากัน
การทดสอบข้อ 1 นั้นเราก็ใช้การทดสอบคล้ายกับการทดสอบแบบที นั่นคือใช้ การทดสอบของโคลโมโกรอฟ-สมินนอฟ และ ซาปิโร-วิลค์ ส่วนการทดสอบข้อ 2 ว่าความแปรปรวนของแต่ละข้อมูลเท่ากันหรือไม่ เราจะใช้สถิติทดสอบคือ homogeneity of variance test ซึ่งใช้การทดสอบของ Levene
แนะนำ : จริงๆ แล้วการทดสอบการแจกแจงปกตินั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องทดสอบก็ได้หากกลุ่มตัวอย่างที่นำมามากพอ (ประมาณ 20+) เนื่องจากกว่าชีวิตจริงความเป็น normality อาจจะไม่ได้เกิดกับทุกกลุ่มประชากร แต่เราก็ไม่ได้อยากไปใช้ non parametric สักเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ อ้างอิงจากบทความนี้ สามารถยืนยันได้ว่า เราสามารถละการทดสอบ normality ได้ครับ เพราะพวก t-test, anova, regression สถิติพวกนี้มัน rubust (แข่งแกร่ง) ต่อ normality พอสมควรครับ
ถ้าในกรณีที่ประชากรมีการแจกแจงปกติแต่ความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน และขนาดกลุ่มตัวอย่าง (n) ของแต่ละประชากรไม่เท่ากัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนปกติจะคลาดเคลื่อนเอาได้ จึงควรเลือกการทดสอบ Brown-Forsythe แทน
ตัวอย่างของข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้คือ
การวิจัยเพื่อทำการเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีสอน 4 วิธีโดยการทำการทดลองสอนนักเรียน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คนหลังการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลปรากฎดังนี้
ทำการกรอกข้อมูลลง SPSS เพื่อ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
เปิดโปรแกรม SPSS ไปที่ variable view เพื่อสร้างตัวแปร เราจะสร้างตัวแปรชื่อว่า method เพื่อเก็บวิธีสอน และ score เพื่อเอาไว้เก็บคะแนน จากนั้นก็ save ไฟล์และตั้งชื่อไว้ครับ
นำข้อมูลมากรอกใน SPSS โดยเรียงวิธีสอนเป็น 1 ถึง 4 ในชื่อ method และนำคะแนนกรอกในช่อง score เรียงลำดับลงมาเรื่อยๆ
ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้น
เราจำเป็นต้องตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นว่า ข้อมูลของเรามีการแจกแจงปกติหรือไม่ โดยใช้คำสั่งดังนี้
Analyze > Descriptive Statistics > Explore…
นำตัวแปร score เข้าไปยังช่อง dependent list ส่วนตัวแปร method เอาเข้าไปยังช่อง factor:
คลิกที่ plots… > เลือก normality plots with tests > continue > OK
จะได้ตาราง tests of Normality ดังภาพ
[mathjax]
ผลการตรวจสอบพบว่า ค่า sig. ของแต่ละประชากร มีค่ามากว่า ทั้งการทดสอบของ Kolmogorov-Smirnor และ Shapiro-Wilk ดังนั้นสรุปว่า วิธีการสอนทุกวิธีมีการแจกแจงปกติ สามารถนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนได้
ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
เมื่อตรวจสอบแล้วว่ามีการแจกแจงปกติ เราจะมาวิเคราะห์ความแปรปรวนกันเลย อันดับแรกไปที่ analyze > compare Means > One-Way ANOVA…
เอาตัวแปร score ลงไปในช่อง dependent list และตัวแปร method ลงในช่อง factor จากนั้นกำหนดวิธีการเปรียบเทียบพหุ ให้คลิกที่ Post Hoc…
จะเห็นว่า Post Hoc แยกเป็นสองส่วน คือ กรณีความแปรปรวนเท่ากัน และ ความแปรปรวนไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากเรายังไม่ได้ทดสอบความแปรปรวนเราจึงเลือกทั้งสองกรณีได้ โดยกรณีความแปรปรวนเท่ากัน ให้เลือก วิธีการของ Scheffe และ Tukey ส่วนกรณีถ้าความแปรปรวนไม่เท่ากันเลือกวิธีของ Dunnett’s T3 จากนั้นคลิก Continue
ต่อไปเราจะทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน (Homogeneity of variance test) คลิกไปที่ option
เลือกไปที่ Homogeneity of variance test เป็นการทดสอบการเท่ากันของความแปรปรวนโดยใช้สถิติ ของ Levene และเลือก Brown-Forsythe เป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนกรณีที่ความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน จากนั้นคลิก continue แล้วคลิก OK
ได้ค่า Test of Homogeneity of Variances ดังภาพ พิจารณาค่า sig. บรรทัดแรกโดยใช้ค่าเฉลี่ยเป็นฐานพบว่า มีค่า sig. เท่ากับ .777 มากกว่า จึงยอมรับสมมติฐานว่าง ดังนั้นสรุปว่า ความแปรปรวนของประชากรทั้ง 4 กลุ่มเท่ากัน
คราวนี้มาดูผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนจากตารางนี้ครับ ค่า sig. เท่ากับ .009 น้อยกว่า จึงปฎิเสธสมมติฐานว่าง ไปยอมรับ อย่างน้อย 1 คู่ ดังนั้นสรุปได้ว่า มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการเปรียบเทียบพหุ (Multiple Comparisons)
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ Tukey และ Scheffe ปรากฎดังนี้ พบว่าวิธีการสอนที่ 1 และ 4 มีค่าเฉลี่ยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ให้สังเกตจากเครื่องหมายดอกจัน (*) หรือพิจารณาจากค่า sig. ที่น้อยกว่า .05 นั่นเอง
จากตัวอย่างนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า วิธีสอนที่ 1 ทำให้ประชากรของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีการสอนที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนวิธีการสอนอื่นๆ ไม่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของประชากรนักเรียนแตกต่างกัน
นอกจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เรายังมีบทความเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two Way ANOVA) สามารถศึกษาพร้อมตัวอย่างจากบทความนี้ได้เลยครับ
นอกจาก SPSS แล้วคุณยังสามารถคำนวณค่า One-Way ANOVA ได้จากโปรแกรม Excel อีกด้วย อ่านจากบทความนี้ครับ
อ้างอิง : ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
หากต้องการความช่วยเหลือในการคำนวณค่าสถิติโดยใช้ SPSS สามารถติดต่อผมได้โดยตรงนะครับ ถ้าพอจะช่วยเหลือหรือแล้วแต่ความยากง่ายของงานครับ สามารถสอบถามค่าบริการได้โดยส่ง กรอบแนวคิดวิจัย จุดประสงค์การวิจัย ตัวแปร หรือข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ เข้ามาทางไลน์ LineID : @krujakkrapong หรือ อีเมล mercedesbenz3010@gmail.com ครับ ☺
Discover more from KruJakkrapong 's Blog
Subscribe to get the latest posts sent to your email.
ขอบคุณในคำอธิบายและตัวอย่างที่เข้าใจง่าย
ยินดีครับผม
อาจารย์สรุปได้เข้าใจง่ายมากค่ะ อ่านตั้งนานนึกว่าใครเขียน มาเจอ ref อ.เปี๊ยกนี่เอง ขอบคุณที่แชร์ตัวอย่างดีๆให้อ่านนะคะอาจารย์
ยินดีมากครับป้อม ช่วงนี้เลี้ยงลูกครับ เลยมาตอบช้า 555 และไม่ค่อยได้อัพบล็อกเท่าไหร่ ปานนี้ใกล้เป็น ดร.ป้อม แล้วมั้งเนี่ย